ช่วงที่ผมเรียนมหาวิทยาลัยทุกครั้งหลังเลิกเรียน ผมมักไปเดินเล่นในห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์พาร์ครังสิตเป็นประจำ เผื่อบรรยากาศเย็นฉ่ำของเครื่องปรับอากาศภายในห้างจะทำให้เราสดชื่น ผ่อนคลายจากสิ่งที่เรียนมา กระทั้งวันหนึ่งวิชาสุนทรียศาสตร์ซึ่งเป็นวิชาบังคับ ได้ให้โจทย์มาว่า "ให้นักศึกษานำสิ่งที่ตนเองเกิดความสุนทรีย์มากที่สุดในชีวิต พร้อมกับอธิบาย" โดยไม่กำหนดว่าต้องเป็นงานศิลปะแบบในหนังสือเรียน เอาที่เราพบเห็นได้ทั่วๆ
ขณะที่ผมกำลังครุ่นคิด เดินเตร็ดเตร่อยู่ภายในห้าง ผมก็ชะโงกลงไปก็พบเข้ากับลานน้ำวนที่อยู่ชั้นลาง แรกๆ ก็ไม่ใคร่จะสนใจสักเท่าไหร่ แต่พอจ้องมองนานๆ ไปมันก็ทำให้ผมคิดที่จะหยิบเจ้าสิ่งที่ผมกำลังเหม่อมอง นำมาเขียนวิเคราะห์ในเชิงงานศิลปะตามที่อาจารย์สั่ง
จากภาพที่เห็น นี่เป็นลานน้ำวนชั้น G ของห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต ที่ถ่ายลงมาจากชั้นหนึ่ง 1 โดยกล้องมือถือของผม เป็นงานประติมากรรมประเภท
โมเสก (Mosaic) ที่ใช้กระเบื้องต่างชนิด (กระเบื้องแก้ว:สีเขียว และกระเบื้องเคนไซ:สีดำ) มาประดับตกแต่งในลักษณะเป็นวนก้นหอยสลับสีกัน
ซึ่งเป็นลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัด โดยงานชิ้นนี้ถูกออกแบบให้เป็น “ลานน้ำวน” ดูได้จากน้ำที่ไหลบนกระเบื้อง
ซึ่งหากมองตามความรู้สึกของสิ่งที่เห็นตามทฤษฎีความรู้สึก มันน่าจะเป็นงานที่ถ่ายทอดทางทัศนศิลป์แนว “นิยมรูปทรง” เป็นหลัก ซึ่งดูได้จากลักษณะของงานที่วนเกลียวและมีมิติที่เน้นความกว้างไปหาความลึก คล้ายกับลักษณะของกระแสน้ำวน โดยอีกนัยหนึ่ง ก็เป็นการถ่ายทอดที่ “นิยมเลียนแบบ” ในลักษณะ “เลียนแบบธรรมชาติในลักษณะการไหลวนของน้ำ”
ส่วนในเรื่องขององค์ประกอบของงานด้าน ถ้าให้วิเคราะห์จะขอวิเคราะห์ออกมาเป็น 2 ด้านได้แก่ ด้านรูปแบบ-รูปทรงและด้านเนื้อหาของงาน
ด้านองค์ประกอบของงานด้านรูปแบบ-รูปทรง
มีลักษณะที่เลียนแบบการไหลวนของน้ำจากกว้างไปหาแคบ ซึ่งแสดงถึงมิติความลึกของผลงาน
อีกทั้งยังมีการนำกระเบื้องทั้งสองชนิดที่มีลักษณะและสีที่ต่างกันมาประดับในรูปแบบก้นหอยที่มีจุดเริ่มต้นสวนทางกัน (ในภาพจะเห็นได้ว่ากระเบื้องสีดำหรือกระเบื้องเคนไซจะเริ่มต้นจากกว้างไปหาแคบทางด้านซ้าย
ส่วนกระเบื้องสีเขียวหรือกระเบื้องแก้วนั้นจะเริ่มจากกว้างไปหาแคบทางด้านขวา)
ที่ไม่บรรจบ เว้นจุดกึ่งกลางที่มีรูให้น้ำไหลผ่านลงไป (ตรงช่องสี่เหลี่ยมตรงกลาง) ของสระ
ส่วนทางด้านเนื้อหาของงาน มีลักษณะเป็นการนำศิลปะมาปรับให้ดูมีความเป็นธรรมชาติ(น้ำวน) ประกอบกับตัวงานนั้น มีการเปิดน้ำให้ไหลลงไปผ่านพื้นผิวกระเบื้องที่ทำเหมือนเป็นเส้นทางให้น้ำไหลลงไปสู่จุดกึ่งกลางของงาน หรือเรียกอีกอย่างว่า อาศัยการไหลของน้ำให้ดูมีความเป็นธรรมชาติมากขึ้น
แล้วจากที่เห็นตีความหมายงานว่าสื่อถึงอะไร และมีอะไรเป็นสัญลักษณ์ ?
หากมองจากลักษณะของผลงานจะเห็นได้ว่ามีการใช้สีและชนิดของกระเบื้องที่แตกต่างกันประกอบกับตัวผลงานนั้นถูกจัดแสดงที่ห้างสรรพสินค้าให้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจแก่บรรดาลูกค้าที่มาซื้อสินค้าหรือมาเที่ยวชม
จึงอาจตีความหมายของผลงานได้ว่า
ความแตกต่างของลักษณะและสีของกระเบื้องนั้นหมายถึงความรู้สึกของผู้คน เช่น
สีเขียวจากกระเบื้องแก้วนั้นหมายถึงความมีชีวิตชีวา หรือ ความสุข ส่วนสีดำจากกระเบื้องเคนไซนั้นหมายถึง
ความถดถอย อ่อนล้า หรือความทุกข์ โดยกระเบื้องทั้งสองสีนี้ต่างก็มีจุดเริ่มต้นที่ต่างกัน
แต่สุดท้ายก็วนมาเจอกันที่จุดกึ่งกลางของสระ
ซึ่งจุดกึ่งกลางก็คือห้างสรรพสินค้าเอง ดังนั้นความหมายของงานชิ้นนี้น่าจะหมายถึงหมายถึง
แต่ละคนมีอารมณ์และความรู้สึกที่แตกต่างกัน
บ้างคนอาจมีความสุขหรือบ้างคนอาจมีความทุกข์
แต่สุดท้ายทุกคนก็ต้องมาบรรจบรวมกันกันที่ห้างสรรพสินค้า หรือเรียกอีกอย่างว่า
ห้างสรรพสินค้าคือแหล่งที่รวบรวมอารมณ์ความรู้สึกของผู้คนเข้าไว้ด้วยกัน
ที่มาของผลงาน : ลานน้ำวน ชั้นG ห้างสรรพสินค้า
ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น