วิเคราะห์การใช้ภาษาในนวนิยายวัยรุ่นของสำนักพิมพ์แจ่มใส
ความเป็นมาและความสำคัญ
นวนิยาย
เป็นกระจกที่สะท้อนความคิดและค่านิยมของผู้คนในสังคม โดยตัวเนื้อหาของนวนิยาย
นั้นมีหลากหลายประเภทหลากหลายแนว มีทั้งนวนิยายสะท้องสังคม นวนิยายประโลมโลก(ความรัก) นวนิยายแนวสืบสวนสอบสวน นวนิยายสยองขวัญ
นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ นวนิยายแนววิทยาศาสตร์ ฯลฯ ในความหลากหลายดังกล่าวย่อมมีสิ่งที่ดึงดูดให้เกิดความน่าสนใจนอกจากเนื้อหา
นั่นคือกลวิธีการใช้ภาษาในการประพันธ์ ซึ่งสิ่งนี้เองที่ทำให้ผู้อ่านจดจำ
ทำให้เห็นภาพในสิ่งที่ผู้แต่งถ่ายทอด และการดำเนินเรื่องที่พาให้ผู้อ่านมีอารมณ์ร่วมไปกับนวนิยายเรื่องนั้นๆ
อิทธิพลวัฒนธรรมจากต่างประเทศ
ก็เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดรูปแบบนวนิยายใหม่ๆ ขึ้นมา เช่นเดียวกับนวนิยายประเภทหนึ่งซึ่งรับอิทธิพลมาจากนวนิยายแนวความรักหนุ่มสาวของประเทศเกาหลี
โดยแรกเริ่มนั้นเป็นนวนิยายที่รับเข้ามาแปลเป็นภาษาไทย ก่อนที่จะมีการพัฒนานำมาเขียนในแบบของไทยโดยใช้ชื่อตัวละคร
ฉากจากต่างประเทศหรือในดินแดนที่สมมติขึ้น
พร้อมทั้งเนื้อเรื่องที่แสดงถึงความสดใสในชีวิต
มีความทันสมัยกว่านวนิยายแนวอื่นๆที่ปรากฏในไทย และการใช้ภาษาที่แสดงถึงความเป็นวัยรุ่น
ตั้งแต่ พ.ศ. 2550 นวนิยายที่ว่าได้รับความนิยมอย่างมาในหมู่นักเรียน-นักศึกษาหญิง
และยังเป็นที่นิยมมาจนถึงปัจจุบัน
โดยนวนิยายดังกล่าวคือนวนิยายที่มีชื่อเรียกรวมๆว่า นิยายแจ่มใส
(เรียกตามชื่อของสำนักพิมพ์)
การใช้ภาษาในนวนิยายแจ่มใส่
เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสารและวัฒนธรรมวัยรุ่นในปัจจุบัน
ซึ่งแน่นอนว่าหากนำนวนิยายที่มีมาแต่เดิมของไทยมาเทียบกับนวนิยายแจ่มใส่
สิ่งที่นวนิยายแจ่มใส่เหนือกว่าอย่างเห็นได้ชัดคือ
การใช้ภาษาที่ทันสมัยและเข้าใจในหมู่วัยรุ่น (สังเกตได้จากตัวเล่มนวนิยายนั้นจะไม่บอกวันเดือนปี
ที่พิมพ์ แต่จะบอกเป็นนัยในเนื้อเรื่องเช่น
การใช้เทคโนโลยีเครื่องมือสื่อสารของตัวละคร การกล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
เป็นต้น) และนั่นก็แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทางภาษาที่ไม่หยุดนิ่ง
และจะเคลื่อนไปเรื่อยๆ ในอนาคต อาจเรียกได้ว่าวัยรุ่นคือตัวแปรที่ทำให้ภาษาพัฒนาต่อๆไป
ขอบเขตของการวิเคราะห์
ผู้เขียนได้เลือกกลุ่มตัวอย่างนวนิยายแจ่มใสมาใช้ในการวิจัยทั้งหมด
4
เล่ม โดยแต่ละเล่มก็จะเป็นผลงานของนักเขียนทั้ง 4 ได้แก่ หัวสมองตีบตัน,แสตมป์เบอรี่,Hideko_Sunshineและ
Mina โดยมีชื่อเรื่องดังต่อไปนี้
1.
“Snow
Prince กริ๊ดดด ต้องรักให้ได้ผู้ชายคนนี้!” ผู้แต่ง
: หัวสมองตีบตัน
2.
“ 10
Days with Handsome Guy จะบ้าตาย...ห้ามรักนายสุดหล่อ!!! ผู้แต่ง: แสตมป์เบอรี่
3.
“ It’s
You เจ้าของหัวใจ ยังไงต้องใช่เธอ” ผู้แต่ง: Mina
4.
“ SEXY
SENSEI ปฏิบัติการรักร้าย มัดหัวใจผู้ชายร้ายลึก!” ผู้แต่ง: Hideko_Sunshine
โดยนวนิยายทั้ง 4 เล่ม จะเป็นตัววัดและประเมินค่า ในด้านการใช้ภาษาของผู้เขียนแต่ละคน
ที่สะท้อนออกมาจากงานวรรณกรรมที่พวกเขาเขียนขึ้นมา และหาสาเหตุว่าอะไรทำให้นวนิยายเหล่านี้
ได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่น
นิยามศัพท์เฉพาะ
นวนิยาย
หมายถึง บทประพันธ์ร้อยแก้วขนาดยาวที่แต่งเพื่อความบันเทิง
โดยสมมุติตัวละคร เหตุการณ์ โครงเรื่อง และสถานที่ เพื่อให้เกิดความสมจริง
วรรณกรรมวัยรุ่น หมายถึง นวนิยาย หรือ เรื่องสั้น ที่เขียนขึ้นสำหรับกลุ่มผู้อ่านที่มีอายุโดยประมาณระหว่าง 12-18 ปี ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างจากวรรณกรรมสำหรับวัยอื่น
คือวรรณกรรมสำหรับผู้ใหญ่ วรรณกรรมยุวชน และวรรณกรรมเด็ก
ตัวละครหลักของวรรณกรรมเยาวชนมักเป็นวัยรุ่น
มีส่วนน้อยที่ใช้ตัวเอกเป็นผู้ใหญ่หรือเด็ก
เนื้อหามักเกี่ยวข้องกับสิ่งที่พึงประสบด้วยวัยและประสบการณ์ของตัวเอกของนวนิยายนั้นๆ
นิยายแจ่มใส หมายถึง
นิยายที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักของวัยรุ่นหนุ่มสาว
โดยใช้ภาษาที่ผู้อ่านเข้าใจและส่วนใหญ่มักเป็นวัยรุ่นที่นิยมอ่านกัน
โดยนิยายดังกล่าวเรียกตามชื่อของสำนักพิมพ์ที่เป็นผู้ผลิตคือ สำนักพิมพ์แจ่มใส
อิโมจิ หรือ อิโมติคอน หมายถึง สัญลักษณ์ที่นอกเหนือไปจากตัวอักษรและตัวเลข โดยการนำสัญลักษณ์ตามแป้นพิมพ์ตั้งแต่สองอย่างขึ้นไปมาประกอบรวมกันให้เป็นรูปร่างคล้ายใบหน้า ใช้ขยายอารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร โดยเติมต่อท้ายของตัวละคร โดยเติมต่อท้ายของประโยคหรือบทสนทนาของตัวละครนั้นๆ
ผลวิเคราะห์ข้อมูล
จากการศึกษาข้อมูลเรื่อง
วิเคราะห์การใช้ภาษาในนวนิยายแจ่มใส ได้วิเคราะห์เป็น 2 ประเด็น คือ
1. วิเคราะห์การใช้ภาษาในนวนิยายแจ่มใส
2. วิเคราะห์การนำเสนอเนื้อหาในนวนิยายแจ่มใส
1.วิเคราะห์การใช้ภาษาในนวนิยายแจ่มใส
1.1การใช้คำ
1.1.1ภาษาปาก
1.1.2การใช้คำภาษาอังกฤษ
1.1.3การใช้คำอุทาน
1.1.4การใช้คำแสลง
1.2การใช้โวหาร
1.2.1บรรยายโวหาร
1.2.2พรรณนาโวหาร
1.2.3เทศนาโวหาร
1.2.4อุปมาโวหาร
1.2.5สาธกโวหาร
2.วิเคราะห์การนำเสนอเนื้อหาในนวนิยายแจ่มใส
2.1
เสนอเนื้อหาเกี่ยวกับความรักในวัยรุ่น
2.2
เสนอเนื้อหาที่สะท้อนภาพของสังคมของผู้แต่ง
การวิเคราะห์การใช้ภาษาในนวนิยายแจ่มใสจากการศึกษาข้อมูลได้ผลวิเคราะห์
ดังนี้
1. การใช้คำ
1.1 การใช้ภาษาปาก
ภาษาปาก ได้แก่ ภาษาที่ใช้พูดในชีวิตประจำวันโดยไม่ต้องพิถีพิถันหรือเคร่งครัดในกฎเกณฑ์ทางภาษามากนักส่วนใหญ่มักใช้กันในครอบครัวระหว่างเพื่อนสนิทและใช้ในสถานที่ที่เป็นส่วนตัว
เช่น ที่บ้านห้องที่เป็นสัดส่วนของตนโดยเฉพาะ เป็นต้น
ภาษาปากอาจหมายถึงภาษาถิ่นหรือภาษาย่อยตลอดจนคำหยาบคำแสลงก็ได้แต่ไม่นิยมใช้เขียนอย่างเป็นทางการ
การใช้ภาษาปากในนวนิยายที่นำมาศึกษานี้
ผู้ทำวิจัยได้แยกออกเป็นสองประเด็นในการวิเคราะห์ ซึ่งประเด็นแรกคือการใช้ภาษาปากในการเล่าเรื่อง
ดูได้จาก
ตัวอย่างที่ 1
ฉันแย่งจดหมายรักของตัวเอง (ที่เป็นความลับมากๆ)
ออกจากมือของเคลวิล
เกือบช็อกตายไปแล้วนะตอนที่เปิดประตูห้องนอนแล้วเห็นหมอนี่นั่งอยู่บนเตียงและจงใจอ่านจดหมายรักที่เป็นความลับสุดยอดของฉันอย่างเสียงดังฟังชัด
แม้แต่ยัยฝาแฝดทั้งสามยังไม่รู้เลยว่าฉันเขียนอะไรลงไป แต่หมอนี่มัน...!!!
( Snow Prince กรี๊ดดด
ต้องรักให้ได้ผู้ชายคนนี้ ! : หน้า 18 )
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า
ในบทที่ยกมามีลักษณะการเล่าเป็นแบบ “ตัวละครเป็นผู้เล่าเรื่อง”
สังเกตได้จากคำสรรพนามที่ขึ้นของบท “ฉันแย่งจดหมายรักของตัวเองออกจากมือของเคลวิล”คำว่า
ฉัน ที่ปรากฏคือคำที่ใช้เรียกแทนตัวผู้เล่า
และในประโยคก็แสดงในเห็นว่าผู้เล่าเรื่องกำลังแสดงอยู่กับตัวละครตัวหนึ่งในนิยาย (
เคลวิล )นั่นหมายความว่า ผู้เล่าเรื่องเป็นตัวละครในเรื่อง
ในการเล่าเรื่องโดยใช้ตัวละครเป็นผู้เล่าเรื่อง แน่นอนว่าภาษาที่ใช้จะมีลักษณะเหมือนกำลังพูดกับผู้อ่าน
( ซึ่งผู้อ่านส่วนใหญ่มักจะเป็นวัยรุ่น ) ระดับภาษาจึงเป็นภาษาที่ไม่เป็นทางการ
เพราะมีลักษณะคล้ายกับการเล่าเรื่องให้เพื่อนฟัง (
ตัวละครในเรื่องเป็นผู้เล่าให้ผู้อ่านฟัง ) ดูได้จากคำที่ใช้ในตัวอย่าง
จะเห็นได้ว่ามีคำอย่างเช่น ช็อกตาย สุดยอด ยัย หมอนี่มัน ซึ่งคำเหล่านี้
มักใช้ในการพูดคุยกับเพื่อนหรือคนที่สนิทและไม่นิยมใช้ในการพูดอย่างเป็นทางการ
นั้นจึงเรียกได้ว่าเป็นภาษาปาก เพราะ
“ไม่ต้องพิถีพิถันหรือเคร่งครัดในกฎเกณฑ์ทางภาษามากนัก”
ตามที่ได้กล่าวไว้ในความหมายข้างต้น
นอกจากการใช้ภาษาปากในการเล่าเรื่องแล้ว
ประเด็นที่สองคือ การใช้ภาษาปากในบทสนทนาของตัวละครในเรื่อง ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงอย่างเห็นได้ชัดถึงการใช้ภาษา
ดูได้จาก
ตัวอย่างที่ 2
“...อยากเป็นนางฟ้าบ้างเหรอไง”
“อยากสิ!” เขามองฉันด้วยท่าทีเนือยๆ
“...แต่ฉันชอบคนธรรมดานะ -_- ”
“-O-”
“เป็นเบ๊ธรรมดาๆ แบบนี้ก็ดีแล้ว”
“...”
ฉันชื่อเบเบ้ -_-
( It’s You เจ้าของหัวใจยังไงต้องใช้เธอ
: หน้า 157 )
จากบทสนทนาที่ยกมา จะเห็นได้ทันทีว่า
เป็นบทสนทนาระหว่างตัวละครทั้งสองที่สนทนากันซึ่งภาษาที่ใช้ก็เป็นภาษาที่พูดกันตามปกติไม่เป็นทางการ
ซึ่งภาษาเหล่านี้ส่วนใหญ่มักจะใช้กันในหมู่วัยรุ่นมากกว่า (
นั้นจึงเป็นสิ่งที่สามารถเข้าผู้อ่านที่เป็นวัยรุ่นได้ง่าย )
จากที่เห็นเป็นบทสนทนาธรรมดาๆ แต่นำพาให้ผู้อ่านมีอามรณ์คล้ายตามหรือชวนให้คิดและมีอารมณ์ร่วมตาม
อีกทั้งในบทสนทนายังมีการบรรยายอาการโดยผู้เล่าเรื่อง ( ในบรรทัดที่สอง )
เพื่อให้ผู้อ่านได้จินตภาพตาม
และสิ่งที่น่าสนใจในบทสนทนาที่ยกมาอีกอย่างหนึ่งคือ
สัญลักษณ์ที่ปรากฏในท้ายโยคสนทนาในบรรทัดที่สาม ( -_- ) กับปรากฏแทนคำพูดในบรรทัดที่สี่ ( -O-)
และที่ปรากฎท้ายประโยคผู้เล่าเรื่องในบรรทัดที่หก ( -_- )
สัญลักษณ์ที่ว่าเป็นสิ่งที่ใช้แสดงอารมณ์ของตัวละครโดยมีลักษณะคล้ายกับใบหน้าที่แสดงอารมณ์
เรียกว่า อิโมจิ หรือ อิโมติคอน
อิโมจิ หรือ อิโมติคอนหมายถึง
สัญลักษณ์ที่นอกเหนือไปจากตัวอักษรและตัวเลข
โดยการนำสัญลักษณ์ตามแป้นพิมพ์ตั้งแต่สองอย่างขึ้นไปมาประกอบรวมกันให้เป็นรูปร่างคล้ายใบหน้า
ใช้ขยายอารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร โดยเติมต่อท้ายของประโยคหรือบทสนทนาของตัวละครนั้นๆ
โดยดูได้จากตัวอย่าง
ดังนี้
ตัวอย่างที่ 3
คุณพ่อบอกว่าหลังจากที่ฉันเรียนจบจะจัดงานแต่งงานให้เราทันที
แล้วช่วงนี้ก็ใกล้จะถึงเวลาแล้ว ^_^ อีกไม่ถึงสองเดือนแล้วละค่ะ
ฉันก็เลยทยอยจัดการเรื่องงานโดยมีคุณพ่อ คุณป้าแม่บ้าน และคุณยายของยูไดให้คำแนะนำ
แล้วก็มาบอกยูไดอีทีหนึ่ง เพราะถ้าให้เขาจัดการเองเขาคงต้องตายแน่ๆ
แค่เรื่องงานยูไดก็ยุ่งจะตายแล้วนี้นา T^T
(SEXY SENSEI ปฏิบัติการรักร้ายมักหัวใจผู้ชายร้ายลึก!
: หน้า 224)
จากตัวอย่างในประโยคของผู้เล่าเรื่องจะเห็นได้ทันทีว่ามี
สัญลักษณ์ อิโมจิ หรือ อิโมติคอน อยู่ 2 แบบ
แบบแรกแทรกอยู่ในประโยค (^_^) ส่วนแบบที่สองอยู่ท้ายประโยคในวรรคต่อมา
(T^T)
มาดูในเครื่องหมาย
อิโมจิ อันแรก มีลักษณะคล้ายกับใบหน้าการ์ตูนเวลายิ้ม
อีกทั้งเครื่องหมายที่ว่ายังแทรกปะปนไปในประโยคของวรรคแรก
ซึ่งหากดูจากเนื้อหาในวรรคแรกจะเห็นได้ทันทีว่าผู้เล่าเรื่องกำลังมีความสุขในสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น
โดยเครื่องหมาย อิโมจิ
เป็นตัวแทนและเป็นตัวเสริมว่าผู้เล่าเรื่องกำลังอยู่ในอารมณ์ใด และกำลังทำหน้าตาแบบไหนในช่วงเวลาขณะนั้น
แน่นอนว่าเครื่องหมาย อิโมจิ ดังกล่าวกำลังแสดงถึงความสุข
หรือความอารมณ์ดีของผู้เล่าเรื่อง
ส่วนเครื่องหมายอิโมจิอย่างที่สอง
มีลักษณะคล้ายกับใบหน้าของการ์ตูนที่กำลังหน้าบึ้งและร้องไห้ อยู่ตรงท้ายประโยค
หากดูจากประโยคในวรรคที่สองที่มีเครื่องหมายอิโมจิที่ว่า เนื้อหาสั้นๆ
ที่สื่อว่าผู้เล่าเรื่องในขณะนั้นมีความทุกข์ใจอยู่
โดยเครื่องหมายอิโมจิก็ช่วยแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนขึ้น
ดังนั้นในตัวอย่าง
ที่มีเครื่องหมายอิโมจิ หรือ อิโมจิคอน 2 แบบ
หมายความว่าในขณะนั้นผู้เล่าเรื่องกำลังมีความสุขแต่ก็อดเป็นทุกข์ไม่ได้ในเวลาเดียวกัน
ตัวอย่างที่ 4
“แล้วนายเป็นอะไรกับเขาล่ะ
ทำไมถึงยอมรับข้อตกลงบ้าๆ บอๆ แบบนี้ด้วย นายก็อยากได้รองเท้าคู่นั้นเหมือนกันเหรอ
-
O –”
“รองเท้าอะไร -_-* ”
“อ้าว...แล้วทำไมนายถึงยอมทำตามที่ไอ้หมอนั้นสั่งละ ได้เงินเยอะใช่มั้ย O_o ”
“เปล่า...ฉันก็มีข้อตกลงอะไรบางอย่างเหมือนกับเธอนั้นแหละ
แต่ข้อตกลงของเราอาจจะต่างกันนิดหน่อย”
“ยังไงเหรอ O_o ”
“ต่างกันตรงที่...ฉันต้องทำให้เธอรักฉันให้ได้น่ะ ^^ ”
(10 Days with Handsome จะบ้าตาย...ห้ามรักนายสุดหล่อ!!!:
หน้า 16 )
จากตัวอย่างบทสนทนาที่ยกมา
จะเห็นได้ว่ามีเครื่องหมายอิโมจิอยู่หลังประโยคแทบทุกประโยคสนทนา
โดยดูจากประโยคแรก อิโมจิคอน มีลักษณะคล้ายหน้าการ์ตูนหลับตา
และอ้าปากเป็นรูปตัวโอคล้ายกับกำลังพูด(- O –)
ซึ่งในประโยคสนทนาประโยคแรก ตัวละครตัวแรก (ไอโฟน) ก็กำลังถามตัวละครที่สอง (ยูเค)
ส่วนประโยคสนทนาที่สอง อิโมจิคอน
มีลักษณะคล้ายหน้าการ์ตูน ทำหน้านิ่งโดยมีเครื่องหมายดอกจัน อยู่ด้านขวาบน (-_-*)ซึ่งในประโยค
ตัวละครที่สองก็กำลังแปลกใจในสิ่งที่ตัวละครตัวที่หนึ่งถาม
ประโยคสนทนาที่สาม
อิโมจิคอน มีลักษณะคล้ายหน้าการ์ตูน ที่ทำหน้าตาคล้ายกับชำเลืองสายตาราวกับว่าอยากรู้อยากเห็น
(O_o)โดยอิโมจิคอนนี้ก็ปรากฏในประโยคที่ห้าเช่นกัน
แน่นอนว่าประโยคดังกล่าวมีเนื้อหาที่อยากรู้อยากเห็นเช่นกันทั้งสองประโยคและเป็นประโยคที่ผู้สนทนาเป็นคนเดียวกัน
คือตัวละครตัวที่หนึ่ง
ประโยคสนทนาที่หก
อิโมจิคอน มีลักษณะคล้ายหน้าการ์ตูน ที่กำลังมีความสุขโดยแสดงออกทางสายตา
โดยประโยคที่ว่า ก็มีเนื้อคล้ายๆเย้าแหย่ตัวละครตัวที่หนึ่งเล่น (^^)
การใช้เครื่องหมายสัญลักษณ์ อิโมจิ หรือ
อิโมจิคอนในการแสดงอารมณ์ของตัวละครซึ่งส่วนใหญ่ตัวละครที่เป็นผู้เล่าเรื่อง
(นางเอก) มักจะใช้เครื่องหมายนี้กำกับอยู่ท้ายประโยคหรือแทรกในประโยคมากกว่า
ถึงกระนั้น เครื่องหมายอิโมจิที่ปรากฏในนิยายแจ่มใส
ก็มีส่วนช่วยให้ผู้อ่านเข้าถึงอารมณ์ของตัวละครมากยิ่งขึ้นนอกเหนือจากการอ่าน
โดยใช้สัญลักษณ์แทน
และการใช้ภาษาปาก
เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้นิยายแจ่มใสเป็นที่ชื่นชอบกันในหมู่วัยรุ่น
เพราะเป็นภาษาที่มีความเข้าใจได้ง่าย
ไม่พิถีพิถันหรือเคร่งครัดในกฎเกณฑ์ทางภาษามากนัก ซึ่งภาษาเหล่านี้เป็นสิ่งที่วัยรุ่นนิยมใช้ในการสื่อสาร
ภาษาในนิยายแจ่นใสจึงเป็นสิ่งที่เข้าถึงวัยรุ่นได้โดยไม่ยาก
1.2 การใช้คำภาษาต่างประเทศ
การใช้ภาษาต่างประเทศ หมายถึง ภาษาอื่นๆ ที่บุคคลหนึ่งไม่ได้สื่อสารพูดคุยในเวลาปกติสำหรับผู้ที่ใช้ภาษาใดภาษาหนึ่งหรือมากกว่าเป็นหลักจะถือว่าเป็นภาษาต่างประเทศ
ในการศึกษานวนิยายแจ่มใสทั้งสี่เล่ม
ผู้วิจัยได้พบการใช้ภาษาต่างประเทศในนิยายที่ใช้ศึกษา โดยแยกออกเป็น 2 หัวข้อหลักๆที่สังเกตเห็นได้ชัดในเรื่องการใช้ภาษาต่างประเทศ ได้แก่
1.2.1การใช้คำที่มาจากภาษาอังกฤษ
ตัวอย่างที่ 5
“ไอโฟนๆๆ”
เฮือก =()=
ฉันลืมตาตื่นมาเจอยูเคนั่งอยู่ข้างๆ โอ๊ย! ตายแล้ว เมื่อคืนพอกลับถึงบ้านเขียนโน้ตให้ยูเคเสร็จก็หลับสนิทไปเลย มันเหนื่อยมากจริงๆ
นะ น้ำท่าก็ยังไม่ได้อาบเลยเนี่ย ไม่รู้ว่าเมื่อคืนยูเคนอนกอดฉันหรือเปล่า
ถ้าได้กลิ่นอะไรตุๆ จากตัวฉันละก็แย่แน่ เหงื่อชุ่มขนาดนั้น TOT
( 10
Days with Handsome จะบ้าตาย...ห้ามรักนายสุดหล่อ!!!: หน้า 175)
จากตัวอย่างจะพบได้ว่า
มีการใช้ภาษาต่างประเทศ เริ่มจากคำในเครื่องหมายอัญประกาศ ( “...” )
ซึ่งหากดูผิวเผินเหมือนเป็นชื่อเรียกของอุปกรณ์เครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์
แต่เมื่อพิจารณาในประโยคในตัวอย่างทั้งหมดจะพบว่า “ไอโฟน” นั้นแท้ที่จริงคือชื่อตัวละคร
เช่นเดียวกับ “ยูเค” ก็เป็นชื่อตัวละครเช่นกันในเรื่อง
การตั้งชื่อตัวละครเป็นชื่อภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นการนำชื่อสิ่งของมาตั้ง
(ไอโฟน)การนำตัวอักษรภาษาอังกฤษมาตั้งเป็นชื่อ (ยูเค)
การตั้งชื่อดังกล่าวเป็นสิ่งที่ผู้แต่งต้องการแหวกแนวการตั้งชื่อตัวละครของนวนิยายไทยที่มักนิยมตั้งชื่อแนวไทยๆ
ความแปลกใหม่
อีกทั้งการตั้งชื่อดังกล่าวเป็นสิ่งที่ทำให้ทั้งผู้แต่งและผู้อ่านมีความรู้สึกถึงความทันสมัยจากคำที่นำมาใช้ในการตั้งชื่อ
โดยอาศัยความนิยมของสังคมเป็นแนวคิดในการตั้งชื่อ เช่น คำว่า “ไอโฟน”
มาจากชื่อเรียกเครื่องมือสื่อสารยี่ห้อหนึ่ง
ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวความนิยมการใช้ไอโฟนเป็นที่แพร่หลายในสังคม
ผู้แต่งจึงนำสิ่งที่นิยมดังกล่าวมาตั้งเป็นชื่อตัวละคร เป็นต้น
การตั้งชื่อตัวละครของนิยายแจ่มใส
แน่นอนมีความแตกต่างจากนวนิยาย
(ไทย)เรื่องอื่นๆที่ส่วนใหญ่มักใช้ชื่อเป็นภาษาไทยหรือบาลี-สันสกฤต แต่นิยายแจ่มใสกลับใช้ชื่อที่ภาษาที่นอกเหนือไปจากชื่อในภาษาไทย
ซึ่งนั่นก็เป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของนิยาย (สำนักพิมพ์)
แจ่มใสในเรื่องการตั้งชื่อของตัวละครตามความนิยมของยุคสมัย
ตัวอย่างที่ 6
อาหารที่สั่งเป็นพวกพาสต้ากับสปาเกตตี้แล้วก็มีซุปอีกนิดหน่อย
นั่งรอไม่นานบริกรก็มาเสิร์ฟอาหารจนครบทุกรายการ ฉันยิ้มเล็กๆ
ให้เคลวินที่นั่งอยู่ฝั่งตรงข้ามก่อนจะตักอาหารเข้าปากอย่างเอร็ดอร่อย
( Snow
Prince กรี๊ดดด ต้องรักให้ได้ผู้ชายคนนี้ ! : หน้า
90)
จากตัวอย่าง
จะเห็นได้ว่าคำที่ใช้ภาษาอังกฤษส่วนใหญ่จะเป็นคำที่ใช้เรียกชื่ออาหาร
ดูได้จากคำว่า “พาสต้า” “สปาเกตตี้” และคำว่า “ซุป” ซึ่งคำเหล่านี้
เป็นคำที่ใช้เรียกชื่ออาหารประเภทหนึ่งจากต่างประเทศ (อิตาลี)
ที่นิยมรับประทานของชาวยุโรปและอเมริกา และเข้ามาแพร่หลายในไทย
รายชื่ออาหารที่อยู่ในตัวอย่าง
แม้ว่าจะเป็นคำที่มาจากภาษาอังกฤษ
(ดูได้จากการเรียกทับศัพท์ของคำ)แต่มันก็สะท้อนถึงค่านิยมในด้านการบริโภคของผู้คนในสังคมในช่วงนั้น
และถือว่าเป็นสิ่งที่สามารถยกระดับตัวเองได้เช่นเดียวกับของใช้แบนด์แนม
หรือของที่มีมูลค่าสูง
ตัวอย่างที่ 7
“...สอบไฟนอลเสร็จ โรงเรียนฉันมีงานพรอม”
“-O-”
“ไปงานพรอมกับฉันมั้ย -_-”
“=()=!”ฉันถึงกับทำหนังสือนิยายหลุดมือ!
อ๊ายยยยยย >///<อย่างกับในหนังฝรั่งแน่ะ! เจแปนชวนฉันไปงานพรอมค่าทุกคน! มีคนชวนเบเบ้ไปงานพรอม
(It’s
You เจ้าของหัวใจยังไงต้องใช่เธอ : หน้า 169
)
จากตัวอย่าง
สิ่งที่เห็นได้ชัดคือคำที่ใช้ภาษาอังกฤษในลักษณะคำที่ใช้เรียกเหตุการณ์ เช่นคำว่า
“สอบไฟนอล” และคำว่า “งานพรอม” ซึ่งคำทั้งสองคำเป็นทับศัพท์ โดยคำแรกคำว่า ไฟนอล
มาจากคำในภาษาอังกฤษว่า Final Examination ซึ่งแปลว่า
สอบไล่ หรือการสอบปลายภาคการศึกษา โดยคนไทยเรียกทับศัทย์แบบย่อว่า Final หรือสอบไฟนอล
ส่วนคำว่า พรอม
มาจากคำว่า Prom ซึ่งมีความหมายว่า ทางเดินริมฝั่งทะเล
แต่ในอีกความหมายหนึ่งนั้นหมายถึง งานลีลาศของนักเรียนในโรงเรียนหรือในมหาวิทยาลัย
โดยความหมายอย่างที่สองจึงน่าจะตรงกับความหมายของคำว่า งานพรอม ในนิยายมากกว่า
แน่นอนว่าการที่จะเรียกเป็นชื่อไทยอย่างเช่น งานราตรีสโมสร หรืองานเต้นรำ
นั้นดูออกจะเรียกว่า เชย มากกว่า คำว่าพรอมจึงเป็นตัวเลือกหนึ่งที่ผู้เขียนเลือกที่จะนำมาใช้ให้ดูทันสมัยยิ่งขึ้น
ในนวนิยายแจ่มใส
แม้ว่าจะมีการใช้คำที่มาจากภาษาอังกฤษ ก็เพื่อดึงดูดให้ผู้อ่านเกิดความน่าสนใจ
ทั้งยังเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายเพราะยิ่งยุคสมัยมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป
คำในภาษาอังกฤษก็จะเข้ามามีบทบาทในภาษาไทยมากขึ้น เช่น ชื่อสิ่งของเครื่องใช้
ชื่อคน ชื่ออาหาร หรือ ชื่อเรียกเหตุการณ์หรือเทศกาลงานต่างๆ
แต่ในนิยายแจ่มใสก็ยังมีการนำคำหรือภาษาอื่นที่นอกเหนือจากภาษาอังกฤษเช่นกัน
1.2.2 การใช้คำที่มาจากภาษาอื่นนอกจากภาษาอังกฤษ
ตัวอย่างที่ 8
เสียงซามิเซ็น
ที่ดังประกอบการรำพัดของเกอิชาทำให้บรรยากาศภายในห้องรับรองตัวแทนคัวแทนจากอเมริกามีมนตร์ขลังมากยิ่งขึ้น
พวกเขาพอใจในการต้อนรับครั้งนี้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีสาวสวยและอ่อนหวานอย่างเกอิชาที่ได้รับการคัดเลือกมาอย่างดีคอยเอาใจ
ฉันนั่งอยู่ที่โต๊ะข้างๆ ยูไดและถัดไปก็เป็นตัวแทนจากทางอเมริกาคนหนึ่ง
และฉันรู้สึกว่าตั้งแต่เจอหน้ากัน ผู้ชายคนนี้คอยมองฉันตลอดทั้งๆ
ที่ข้างกายเขามีเกอิชาที่สวยที่สุดคอยดูแล
( SEXY SENSEI ปฏิบัติการรักร้ายมักหัวใจผู้ชายร้ายลึก!
: หน้า 173-174 )
จากตัวอย่าง
จะเห็นได้ว่า มีคำที่นอกเหนือจากคำในภาษาอังกฤษ เช่นคำว่า ซามิเซ็น เกอิชา
และคำว่า ยูได โดยคำเหล่านี้เป็นคำที่มาจากภาษาญี่ปุ่นซึ่งเป็นศัพท์เฉพาะและไม่มีสิ่งเหล่านี้ในไทย
คำทั้งสามจึงกลายเป็นคำที่เรียกทับศัพท์แทน คำที่ปรากฏในตัวอย่างนั้น
ต่างก็มีบทบาทและหน้าที่ของมัน อย่างเช่นคำว่า ยูได ในตัวอย่างเป็นชื่อของตัวละคร
ส่วนสองคำที่เหลือ ได้แก่คำว่า ซามิเซ็น กับคำว่า เกอิชา ก็เป็นชื่อเรียกเฉพาะ
ซึ่งคำว่า ซามิเซ็น
เป็นเครื่องดนตรีโบราณประเภทเครื่องสายหรือเครื่องดีดของประเทศญี่ปุ่น มีสามสาย
ลักษณะคล้ายคลึงกับ ซึง และ พิณ มีแผ่นไม้ (บาฉิ)
ใช้ในการดีดเวลาเล่นเครื่องดนตรีชิ้นนี้ และคำว่า เกอิชา คือ อาชีพของผู้หญิงชาวญี่ปุ่น
ที่มีการใช้ศิลปะ และวิชาชีพในการปรนนิบัติผู้ชาย เน้นการแต่งกายแบบนางละคร
ในการใช้ภาษาในลักษณะนี้
เป็นการทำให้ตัวเรื่องนั้นดูมีมีความสมจริงประกอบกับฉากที่มีความเป็นต่างประเทศร่วมทั้งตัวละครที่มีเชื้อชาติในประเทศนั้นๆ
ทำให้ภาษาหรือคำที่ใช้มีการนำประยุกต์ให้เข้ากับตัวเรื่องและทำให้ผู้อ่านซึมซับบรรยากาศของเรื่องได้อย่างเข้าถึงตามที่ผู้แต่งต้องการ
1.3การใช้คำอุทาน
คำอุทาน คือคำที่เปล่งออกมาเพื่อแสดงอารมณ์
หรือความรู้สึกของผู้พูด ส่วนมากจะไม่มีความหมายตรงตามถ้อยคำ
แต่จะมีความหมานเน้นความรู้สึกและอามรณ์ของผู้พูดเป็นสำคัญ
ในนวนิยายแจ่มใส แน่นอนว่าคำอุทานเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้
เพื่อแสดงอารมณ์หรืออาการของทั้งผู้เล่าเรื่องและตัวละครให้ดูมีความสมจริง
ซึ่งดูได้จากตัวอย่างดังนี้
ตัวอย่างที่ 9
“พูดดีไปเถอะ! ยังไงเธอก็ต้องหมั้นกับฉันอยู่ดี!”
“ไม่มีวันหรอก! ถ้านายคิดว่าจะยอมหมั้นกับฉันเพื่อทำให้ฉันสยบแทบเท้านาย
ขอบอกเลยว่านายไม่มีวันทำสำเร็จ เพราะยังไง...ฉันก็จะไม่ยอมรับการหมั้น”
“แล้วเธอจะปฏิเสธการหมั้นยังไง บอกว่า...เธอกับฉันเกลียดกันงั้นเหรอ หึ! จำไว้เลยนะว่าเธอไม่มีวันหยุดยั้งการหมั้นได้ ถ้าฉันยืนยันว่าจะหมั้น
น้ำหน้าอย่างเธออย่าได้คิดหนี”
“...”
“ผู้หญิงที่ฉันต้องการ...ไม่มีใครหนีหลุดมือฉันได้สักคน!”
(SEXY SENSEI ปฏิบัติการรักร้ายมักหัวใจผู้ชายร้ายลึก!
: หน้า 98)
จากตัวอย่างของบทสนทนาที่ยกมา
จะเห็นได้ว่าเป็นบทสนทนาที่แสดงให้เห็นว่าตัวละครกำลังทะเลาะกันของตัวละครทั้งสอง
(ระหว่างโชตะกับฮารุกะ) ซึ่งอย่างที่ได้กล่าวไว้ว่าคำอุทานเป็นสิ่งที่บอกอาการ
และจากที่เห็นในบทสนทนาจะเห็นเครื่องหมายชนิดหนึ่งที่ปรากฏอยู่ ( ! ) เครื่องหมายชนิดนี้คือเครื่องหมายที่เรียกว่า
“เครื่องหมายอัศเจรีย์”
โดยเครื่องหมายดังกล่าวมักจะปรากฎหรือกำกับอยู่ท้ายคำอุทาน เพื่อเน้นในการแสดงอารมณ์ เช่น ดีใจ เสียใจ ตกใจ แปลกใจ ฯลฯ
นั้นจึงเป็นสิ่งที่เป็นข้อสังเกตได้ง่ายว่าหากมีเครื่องหมายอัศเจรีย์ ( ! ) กำกับอยู่
แสดงว่าคำดังกล่าวหรือประโยคดังกล่าวเป็นคำอุทาน กล่าวว่าเครื่องหมายดังกล่าวเป็นสิ่งที่เน้นย้ำอารมณ์
อาการ ความรู้สึก ของคำอุทาน ซึ่งดูได้จากอีกตัวอย่างที่ยกมาดังนี้
ตัวอย่างที่ 10
น้ำตาของฉันเริ่มหยดลงมาอีกแล้ว
ฉันดึงจดหมายหลบเพราะไม่อยากให้น้ำตาของฉันหยดลงมาเปื้อนกระดาษ
การที่ได้รับรู้ว่าคนที่เรารักไปรักคนอื่นมันก็เจ็บมากแล้ว
แต่ยิ่งมารู้ว่าคนอื่นที่เขารักนั้นเป็นเพื่อนสนิทของตัวเองมันยิ่งเจ็บกว่ามากมายหลายเท่านัก
ตอนนี้หัวใจฉันมันรวดร้าวไปหมด เปรียบเทียบไม่ได้เลยกับเหตุการณ์ที่มันหนักๆ
ทั้งสามเรื่องที่ฉันเคยเจอ เรื่องไหนมันทำให้ฉันเสียใจได้มากกว่ากัน
ฉันทนมันได้ยังไงโดยที่ไม่ฉีกกระดาษนี่ทิ้งไปนะ!!!
(10 Days with Handsome จะบ้าตาย...ห้ามรักนายสุดหล่อ!!!
: หน้า 192)
จากตัวอย่างที่ยกมา
เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เป็นถึงความเศร้าโศกเสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นของผู้เล่าเรื่อง
(ที่เป็นตัวละคร) โดยสิ่งที่น่าสังเกตคือ เครื่องหมายอัศเจรีย์ที่ปรากฏในตอนท้าย
มี 3
อัน
ซึ่งนั้นหมายความว่าผู้เขียนต้องการที่จะเน้นย้ำอารมณ์ของผู้เล่าเรื่องในขณะนั้น
ให้ผู้อ่านให้อารมณ์ได้อย่างชัดเจนที่สุด
โดยใช้การเน้นย้ำเครื่องหมายอัศเจรีย์ตั้งแต่สองขึ้นไปเป็นตัวเสริมให้ผู้อ่านเข้าใจและเข้าถึงอาการที่ผู้เขียนต้องการสื่อ
คำอุทานที่ปรากฏใช่ว่าจะเป็นเพียงแต่อาการตกใจเพียงอย่างเดียว
แต่มันหมายถึงภาพรวมของการแสดงออก
หรืออาการที่ปรากฏทั้งตัวละครในนิยายหรือแม้กระทั้งตัวผู้เล่าเรื่องก็ตาม
โดยมีเครื่องหมายอัศเจรีย์ ( ! ) เป็นตัวกำกับ
ซึ่งเครื่องหมายดังกล่าวจะมีมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของตัวเรื่องและความต้องการของผู้เขียนเป็นตัวกำหนด
1.4การใช้คำแสลง
คำแสลง คือถ้อยคําหรือสํานวนที่ใช้เข้าใจกันเฉพาะกลุ่มหรือชั่วระยะเวลาหนึ่งไม่ใช่ภาษาที่ยอมรับกันว่าถูกต้อง
(พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ 2554)
โดยส่วนใหญ่
คำแสลงมักใช้กันในหมู่วัยรุ่น ซึ่งแน่นอนว่า
ในนวนิยายแจ่มใสที่มักจะเน้นเนื้อหาไปในทางวัยรุ่นย่อมต้องมีคำแสลงปรากฎอยู่เสมอเช่นเดียวกับภาษาปาก
ซึ่งดูได้จากตัวอย่างดังนี้
ตัวอย่างที่ 11
ฉันอ้าปากค้าง เมื่ออยู่ดีๆ
แม่หมอก็วางสายไป -O- !! แม่หมอชิ่งหนีอีกแล้ว!
โอ๊ยยย
ยิ่งคุยกับแม่หมอก็ยิ่งอยากรู้แล้วนะ ทำไงดีละเนี่ย! T^T !
( It’s You เจ้าของหัวใจยังไงต้องใช้เธอ
: หน้า 106 )
จากตัวอย่างที่ยกมา
จะเห็นได้ว่าเป็นโยคในลักษณะของการเล่าเรื่อง โดยให้ความรู้สึกว่าผู้เล่าเรื่องกำลังกังวนและรอตอบบางอย่างอยู่
หากสังเกตตรงประโยคแรก ที่ว่า “แม่หมอชิ่งหนีอีกแล้ว!”
จะพบคำแสลงอยู่คำหนึ่ง คือคำว่า ชิ่งหนี ซึ่งคำดังกล่าวเป็นคำแสลงที่เพี้ยนมาจากคำว่า
ชิงหนี แต่มีการนำเสียงวรรณยุกต์เข้าไปเสริมเพื่อเน้นในการออกเสียง
โดยคำดังกล่าวแน่นอนว่าเป็นคำที่นิยมใช้กันในหมู่วัยรุ่นซึ่งมักจะปรากฎในรูปแบบการพูดคุยสนทนากันมากกว่าแบบเขียน
นั้นจึงเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้เล่าเรื่องมีความเป็นวัยรุ่นซึ่งดูได้จากการใช้คำในการเล่าเรื่อง
และกลวิธีที่ผู้ประพันธ์นำมาใช้เพื่อดึงดูดกลุ่มอ่านซึ่งเป็นวัยรุ่นโดยเฉพาะ
ตัวอย่างที่ 12
“เธอเป็นคนรักของหมอนั้นรึเปล่า”
“วะ...ว่ายังไงน้าาา!!! จะบ้าเหรอ!”
“ปฏิเสธซะเสียงดังเชียวนะ
-_- ;; ”
“แหงสิ!”
( Snow Prince กรี๊ดดด
ต้องรักให้ได้ผู้ชายคนนี้ ! : หน้า 78 )
จากตัวอย่างที่ยกมา
จะเป็นบทสนทนาระหว่างตัวละครทั้งสอง และเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนในการใช้คำแสลง
โดยดูจากประโยคแรกตรงคำว่า “หมอนั้น” ซึ่งเป็นคำที่ใช่เรียกสรรพนามบุรุษที่สาม
มีความหมายเทียบเท่ากับคำว่า เขา หรือคำว่า นาย
ต่อมาคำว่า “รึเปล่า” ก็เป็นคำแสลงที่มีการกร่อนเสียงให้สั้นลง
ซึ่งจากเดิมเป็นคำว่า หรือ ที่มีเสียงสระเป็นเสียงยาว แต่มีการปรับเปลี่ยนให้มีความง่ายทั้งการเขียนและการออกเสียงในการพูด
ส่วนในประโยคต่อมาคำว่า “น้าาา” ก็เป็นคำแสลงที่มาจากว่า นะ
ซึ่งคำว่า นะเป็นภาษาที่มักจะปรากฎในการเขียน ส่วนคำว่า น้าาา หรือ น้า
เป็นคำที่ใช้ในการพูดมากกว่า
เพราะลักษณะของคำเน้นใช้ในการออกเสียงหรือการเล่นเสียงมากกว่า
และประโยคสนทนาสุดท้าย “แหงสิ” ก็เป็นคำแสลงที่มีความหมายเดียวกันกับคำว่า
แน่สิ ซึ่งหมายถึงการยืนยันสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกเอ่ยถึง
คำแสลงที่ปรากฏในนวนิยายแจ่มใสส่วนใหญ่มักมีลักษณ์เป็นภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน
ซึ่งดูได้จากลักษณะคำที่มีการนำสระหรือเสียงวรรณยุกต์
เข้ามาต่อเติมหรือกร่อนเสียงลงในคำที่เป็นภาษาขียน หรือไม่ก็มีการเปลี่ยนรูปแบบของคำแต่มีความหมายที่เข้าใจกันในหมู่วัยรุ่น
แสดงให้เห็นถึงกลวิธีที่ผู้เขียนใช้ในการดึงดูดกลุ่มผู้อ่านและมีความชำนาญและเข้าใจในภาษาที่เป็นคำแสลง
2. การใช้โวหาร
โวหาร คือ ศิลปะการใช้ภาษาที่มีชั้นเชิง สละสลวย และสำนวนที่มีการเรียบเรียงมาเป็นอย่างดี
เพื่อความเหมาะสมและความชัดเจนในสิ่งที่ต้องการสื่อถึงหรือถ่ายทอดออกมาจากอารมณ์
จินตนาการและความรู้สึกนึกคิด
โดยกลั่นกรองออกมาเป็นงานเขียนหรือการพูดตามความต้องการของผู้ส่งสาร
โวหารสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่
บรรยายโวหาร คือการเขียนเล่าเรื่อง
หรือการอธิบาย บรรยาย
พรรณนาโวหาร คือการเขียนเล่าเรื่องที่แสดงให้ภาพพจน์ในเรื่อง
เทศนาโวหาร คือการเขียนในแนวทางเทศนา
คำสอน
อุปมาโวหาร คือการเขียนในเชิงเปรียบเทียบ
เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น
สาธกโวหาร คือการเขียนที่มีการยกตัวอย่างมาประกอบ
โวหารดังกล่าวที่ได้กล่าวมาเบื้องต้น
เป็นสิ่งที่ผู้วิจัยศึกษา ซึ่งส่วนใหญ่ในนวนิยายแจ่มใสมันใช้ โวหารประเภท
บรรยายโวหาร กับ พรรณนาโวหาร มากกว่าโวหารชนิดอื่น
แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีการใช่โวหารประเภทอื่น ซึ่งดูได้จากตัวอย่างดังต่อไปนี้
2.1บรรยายโวหาร
ตัวอย่างที่ 13
หอประชุมใหญ่ถูกเนรมิตให้กลายเป็นเหมือนห้องห้องจัดงานเลี้ยงตามโรงแรมชั้นนำได้เลยมั้ง!
เหล่าบรรดานักเรียนต่างแต่งตัวกันอย่างเต็มยศสุดๆ! รวมทั้งฝ่ายหญิงสาวที่ฝ่ายชายแต่ละคนควงมาด้วยกันแต่งตัวกันอย่างไม่ยอมน้อยหน้ากันเลยทีเดียว!
(It’s
You เจ้าของหัวใจยังไงต้องใช่เธอ : หน้า 194)
จากตัวอย่างที่ยกมาจะเห็นได้ว่า
ดูเหมือนจะเป็นโวหารประเภท อุปมาโวหาร เพราะมีการนำสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาใช้ในการเปรียบเทียบ
ดูได้จากประโยคที่ว่า “หอประชุมใหญ่ถูกเนรมิตให้กลายเป็นเหมือนห้องห้องจัดงานเลี้ยงตามโรงแรมชั้นนำ”
แต่ถ้าหากอ่านบริบทโดยรวมแล้ว มันคือการบรรยายภาพจากสิ่งที่เห็น
ซึ่งภาพที่ว่าเป็นงานเลี้ยงที่ถูกจัดขึ้น (งานพรอม) ในเรื่อง โดยผู้เล่าเรื่อง
(ตัวละครเอก) เป็นผู้บรรยาถึงสิ่งที่ตัวเองพบเห็น จึงกล่าวได้ว่า
โวหารที่ใช้เป็นโวหารประเภท บรรยายโวหาร
2.2พรรณนาโวหาร
ตัวอย่างที่ 14
พูดจบเขาก็ค่อยๆ
ประกบริมฝีปากลงมาทาบทับกับริมฝีปากของฉัน แต่เขาผิดสัญญาอ่ะ
นี่ไม่ใช่เอาแค่ริมฝีปากแตะกันแล้วนะ O_o แต่แปลกจังที่ฉันเองก็ไม่ได้ขัดขืน
แต่กลับโอนอ่อนผ่อนตามไปกับสัมผัสและการเคลื่อนไหวอย่างเชื่องช้าของริมฝีปากเขา
มันช่างอ่อนโยน นุ่มนวล และโรแมนติกที่สุด
ฉันไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าการจูบกันในยามค่ำคืนที่มีแสงจันทร์ทอแสงเรืองรองรอบตัวเรามันจะทำให้รู้สึกดีได้ขนาดนี้...
(10
Days with Handsome จะบ้าตาย...ห้ามรักนายสุดหล่อ!!! : หน้า 174)
จากตัวอย่างที่ยกมา
จะเห็นได้ว่ามีลักษณะเป็นบรรยายโวหาร ซึ่งบรรยายถึงฉากที่ นางเอกของเรื่อง (ไอโฟน)
และพระเอก (ยูเค) กำลังจูบกัน
แต่สิ่งที่พิเศษนอกเหนือจากคือการบรรยายอารมณ์ความรู้สึกในขณะที่กำลังจูบกัน (แต่แปลกจังที่ฉันเองก็ไม่ได้ขัดขืน
แต่กลับโอนอ่อนผ่อนตามไปกับสัมผัสและการเคลื่อนไหวอย่างเชื่องช้าของริมฝีปากเขา
มันช่างอ่อนโยน นุ่มนวล และโรแมนติกที่สุด)
พร้อมทั้งระบุในช่วงเวลาที่ตัวละครทั้งสองกำลังกระทำ (ฉันไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าการจูบกันในยามค่ำคืนที่มีแสงจันทร์ทอแสงเรืองรองรอบตัวเรา)
นั้นจึงเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้อ่านเห็นภาพตามได้อย่างละเอียด
และคล้อยตามไปกับสิ่งที่เกิดขึ้นในเรื่อง และเป็นการบรรยายที่ใช้โวหารประเภท พรรณนาโวหาร
2.3เทศนาโวหาร
ตัวอย่างที่ 15
“เรื่องของความรักไม่มีความเหมาะสมหรอกลูก
ทุกอย่างอยู่ที่ความรู้สึกและหัวใจ ในเมื่อยูไดก็รู้สึกดีๆ
กับฮารุกะและต่อสู้เคียงข้างกันมามากขนาดนี้ แล้วจะปล่อยมือน้องเขาไปทำไม”
“...”
“ทบทวนให้ดีๆ
ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป ยายรู้ว่ายูไดฉลาดพอที่จะตัดสินใจใหม่อีกครั้ง”
(SEXY
SENSEI ปฏิบัติการรักร้ายมักหัวใจผู้ชายร้ายลึก! : หน้า 207)
จากตัวอย่างที่ยกมา
เห็นได้ชัดว่า เป็นสนทนาระหว่างตัวละครทั้งสอง (คุณยายกับยูได) โดยบทสนทนาดังกล่าวมีลักษณะของการให้คำแนะนำและเตือนสติ
ในเรื่องความรัก โดยตัวละครที่เป็นคุณยายเป็นผู้พูด ให้ยูไดฟัง
ซึ่งมีลักษณะแบบเดียวกับโวหารที่ใช้ในการสั่งสอน
นั้นหมายความว่าโวหารที่ปรากฎในตัวอย่าง เป็นโวหารประเภท เทศนาโวหาร (
เทศนาโวหารใช่ว่าจะสอนในทางศาสนาเพียงอย่างเดียว
มันร่วมไปถึงการเตือนสติและการมองโลก หรือการสอนแบบปุถุชนทั่วไป )
2.4อุปมาโวหาร
ตัวอย่างที่ 16
บรรยากาศของเมืองฮัททาเวย์ทำให้ฉันนึกถึงเมืองเวนิสที่ประเทศอิตาลี ศิลปะและการสร้างตึกมีลักษณะคล้ายกันมาก
ฉันกับเคลวินเดินเคียงกันไปตามตรอกซอกซอยที่มีแบกะดินเรียงกันนับร้อยๆ แผง
มองทะลุทุกตรอกออกไปมีคลองที่เชื่อมอยู่ทั่วเมือง
ผู้คนส่วนใหญ่เดินทางโดยใช้เรือลำเล็กๆ
นักท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อยเลยที่ใช้บริการท่องเรือตามคลองพร้อมเสียงขับร้องของคนพายสุดแสน โรแมนติก ระหว่างล่องเรือ
(Snow Prince กรี๊ดดด
ต้องรักให้ได้ผู้ชายคนนี้ ! : หน้า 87-88)
จากตัวอย่างที่ยกมา
เป็นการบรรยายบรรยากาศของเมืองๆ หนึ่งในเรื่องที่ตัวละครหรือผู้เล่าเรื่อง (วาวา)
กับตัวละครอีกตัว (เคลวิน) กำลังทัศนาชม โดยโวหารที่ใช้แน่นอนว่าเป็นโวหารประเภท บรรยายโวหาร
เพราะเป็นการบรรยายบรรยากาศสิ่งแวดล้อมที่ผู้เล่าเรื่องและตัวละครพบเห็น แต่ถ้าสังเกตุให้ดีจะเห็นว่ามีการใช้โวหารอีกประเภทหนึ่งอยู่ในข้อความที่ว่า
“บรรยากาศของเมืองฮัททาเวย์ทำให้ฉันนึกถึงเมืองเวนิสที่ประเทศอิตาลี
ศิลปะและการสร้างตึกมีลักษณะคล้ายกันมาก” จากข้อความจะเห็นได้ว่ามีการนำเมืองๆ
หนึ่ง คือเมืองเวนิส กับเมืองที่ผู้เล่าอยู่ในขณะนั้นคือเมืองฮัททาเวย์
มาเทียบกันโดยใช้ศิลปะการสร้างตึกเป็นตัวเปรียบเทียบความคล้ายคลึงกัน
นั้นหมายความว่า โวหารที่อยู่ในข้อความนี้เป็นโวหารประเภท อุปมาโวหาร
2.5สาธกโวหาร
ตัวอย่างที่ 17
ถ้าคุณเคยชอบหนังสือการ์ตูนเล่มหนึ่งหรือนิยายรักสักเรื่องหนึ่งมากๆ
แน่นอนว่าเรื่องนั้นจะมีพระเอกที่หล่อที่สุด
ส่วนนางเอก...เราไม่ค่อยได้สนใจเท่าไหร่หรอก แค่อย่างทำร้ายจิตใจของพระเอกของเราก็พอ
คุณลองนึกภาพพระเอกนิยายเรื่องนั้นซึ่งเขากำลังเดินเข้ามาหาคุณ ใช่...เขามีตัวตนจริงๆ! นิสัยของเขาไม่ค่อยเหมือนในนิยายเท่าไหร่ แต่ถ้าหน้าตาละก็ใช่เลย
และเขากำลังยืนส่งยิ้มให้คุณ
(Snow Prince กรี๊ดดด
ต้องรักให้ได้ผู้ชายคนนี้ ! : หน้า 218-219)
จากตัวอย่างที่ยกมา
เป็นการเล่าเรื่องโดยผู้เล่าเรื่องตั้งคำถามแล้วให้ผู้อ่านจินตภาพตามโดยคำถามที่ว่าเป็นคำถามที่ไม่ต้องการคำตอบ
ซึ่งมีการยกตัวอย่างขึ้นมาประกอบนั้นคือ พระเอกในนิยาย ที่ปรากฏตัวต่อหน้าผู้เล่าเรื่องโดยผู้เล่าเรื่องให้พระเอกที่เธอกล่าวมีหน้าตาคล้ายกับคนที่เธอกำลังพบเจอในขณะนี้
พระเอกที่ว่าก็คือพระเอกของเรื่อง (เคลวิน)
ซึ่งกลวิธีการเล่าเรื่องโดยมีการยกตัวอย่างมาประกอบให้เห็นภาพได้ชัด
เป็นกลวิธีที่นำโวหารชนิดหมึ่งมาใช้ โวหารที่นั้นคือ สาธกโวหาร
การใช้โวหารเข้ามาประกอบในเรื่อง เป็นส่วนช่วยทำให้เนื้อหามีความสนุกและน่าสนใจ
ในการบรรยายเล่าเรื่อง และความสมจริงของเรื่อง
อีกทั้งในโวหารโวหารหนึ่งย่อมมีอีกโวหารหนึ่งเข้ามาช่วยให้เกิดความสมบูรณ์และชัดเจนมากยิ่งขึ้น
สะท้อนให้เห็นศิลปะการใช้ภาษาของผู้เขียนของสำนักพิมพ์แจ่มใสที่ใช้ในการประพันธ์นวนิยาย
ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า วรรณศิลป์
ส่วนในเรื่องวิเคราะห์การนำเสนอเนื้อหาในนวนิยายแจ่มใสจากการศึกษาข้อมูลได้ผลวิเคราะห์
ดังนี้
1.เสนอเนื้อหาเกี่ยวกับความรักในวัยรุ่น
นิยายแจ่มใสเป็นนวนิยายแนวความรัก
(หรือแนวประโลมโลก) ที่มีตัวละครเอกเป็นหญิงสาวสาววัยรุ่นเป็นตัวดำเนินเรื่องซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้เล่าเรื่องโดยให้ผู้อ่านค่อยติดตามถึงเรื่องที่เกิดขึ้นไปพร้อมกับผู้เล่าเรื่องที่เป็นตัวละครเอกของเรื่องซึ่งทำให้ผู้อ่านนั้นสามารถเข้าถึงอารมณ์ของผู้เล่าเรื่องโดยเฉพาะผู้หญิง
แน่นอนว่านิยายแจ่มใสเป็นนวนิยายที่เจาะกลุ่มเป้าหมายของวัยรุ่น
ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นกลุ่มผู้อ่านที่เป็นหญิงสาวในช่วงวัย 15 ปีขึ้นไป ด้วยพล็อตเรื่องที่ได้รับอิทธิพลมาจากการ์ตูนญี่ปุ่น
(ทั้งแนวการเรื่องและภาพประกอบ)
ประกอบกับอิทธิพลวัฒนธรรมเกาหลีที่เข้ามาทั้งจากสังคมและวรรณกรรมที่แต่ก่อนสำนักพิมพ์แจ่มใสนำเข้ามาแปล
ทำให้ตัววรรณกรรมมีความทันสมัยและเข้าถึงได้ง่ายในหมู่วัยรุ่น
อย่างที่ได้กล่าวไว้ เนื้อหาเป็นนิยายความรักที่เกี่ยวข้องกับวัยรุ่น
โดยมีตัวละครเอกที่เป็นผู้หญิงเป็นผู้เล่าเรื่องและดำเนินเรื่อง
ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของนิยายของสำนักพิมพ์นี้
แต่ในด้านพล็อตเรื่องหรือในด้านเนื้อหาก็จะมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับตัวผู้แต่ง
ที่จะนำเอาอะไรมาใช้ในการเขียนตัวเรื่อง ซึ่งเรื่องนี้จะขออธิบายในหัวข้อต่อไป
นิยายแต่ละเรื่องก็จะมีความแตกต่างกันในด้านเนื้อหา ซึ่งดูได้ดังนี้
“Snow Prince กริ๊ดดด ต้องรักให้ได้ผู้ชายคนนี้!”เป็นเรื่องราวของ
“วาวา” หญิงสาวแสนธรรมดาในโรงเรียนไฮสกูลที่ถูกบอกรักต่อหน้าผู้คนในโรงเรียนโดย
“เคลวิน” หนุ่มหล่อประจำโรงเรียน
แต่ในการบอกรักครั้งนั้นกลับกลายเป็นเรื่องตลกเพียงเพราะเคลวินทำไปเพราะพนันกับเพื่อน
ทำให้วาวา
รู้สึกเสียหน้ากับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วประกาศว่าจะทำให้เคลวินตกหลุมรักเธอให้จนได้
แต่แทนที่เหตุการณ์ทุกอย่างจะจบลง กลับกลายเป็นว่า
เคลวินเข้ามาอยู่อาศัยในบ้านของเธอในฐานะลูกชายคนโตของบ้าน
เนื่องจากแม่ของวาวาแต่งงานใหม่กับพ่อของเคลวินซึ่งพ่อของเคลวินก็มีลูกติดมา
และเคลวินก็มีอายุมากกว่าเธอ 1 ปี
ทำให้เคลวินกลายเป็นพี่ชายไปโดยปริยาย
ซ้ำร้ายยังถูกนักเรียนหญิงในโรงเรียนเดียวกันกลั้นแกล้ง
แผ่นการการทำให้เคลวินชอบจึงเริ่มต้นขึ้นด้วยความช่วยเหลือและคำแนะนำจากบรรดาเพื่อนเก่าจากโรงเรียนเก่าที่เคยเรียน
การที่ทั้งคู่ต้องมาใช้ชีวิตร่วมกันในบ้านหลังเดียวกันและการปฏิบัติตามแผนการที่วางไว้ทำให้ทั้งคู่เริ่มรู้จักกันมากขึ้น
และได้ล่วงรู้ความลับของกันและกัน ทั้งของเคลวินและของวาวา ( ความลับเรื่อง Snow
Prince)ความสัมพันธ์ที่เริ่มพัฒนาจนเกินขอบเขตการเป็นพี่น้อง
ท้ายที่สุดทั้งคู่ก็ได้ใช้ชีวิตร่วมกันในฐานะที่ไม่ใช่พี่พี่น้อง
แต่เป็นสถานะคนรักแทน
“10
Days with Handsome Guy จะบ้าตาย...ห้ามรักนายสุดหล่อ!!!” เป็นเรื่องราวของ “ไอโฟน” หญิงสาวที่ต้องการซื้อของขวัญไปให้ในวันเกิดของแฟนตัวเอง
แต่เนื่องด้วยตนเองไม่มีเงินพอที่จะซื้อสิ่งของที่แฟนเธอต้องการ
ด้วยความบังเอิญมีผู้ชายปริศนาคนหนึ่งซื้อรองเท้าที่เธอต้องการแล้วยกให้เธอ
โดยยื่นข้อเสนอให้เธอใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับ “ยูเค” ชายหนุ่มหน้าตาหล่อเหลา เป็นเวลา 10 วัน โดยทั้งคู่จะได้รับภารกิจที่ต้องทำในแต่ละวันจากชายหนุ่มปริศนา
เธอตอบรับข้อตกลงพร้อมกับพยายามที่จะไม่หวั่นไหวในตัวยูเคและยึดมั่นในความรักที่เธอเองมาต่อแฟนของเธอ
แต่การที่ทั้งคู่ได้อยู่ด้วยกันในช่วงเวลาอันสั้นและเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ทำให้เธอและเขาเริ่มหวั่นไหวซึ่งกันและการ
จนกระทั้งเธอได้รู้ความจริงในเรื่องราวทั้งหมดที่เกิดถึงการเข้ามาของชายปริศนา
ความจริงที่เธอไม่เคยรู้เกี่ยวแฟนที่เธอคบ และท้ายที่สุด
ไอโฟนก็เข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นและเปิดใจรับยูเคเข้าในชีวิตในฐานะคนที่เธอรักและเป็นคนที่รักเธอเช่นกัน
“ It’s
You เจ้าของหัวใจ ยังไงต้องใช่เธอ”เป็นเรื่องราวของ
“เบเบ๊”
เด็กสาวที่มีโรคประหลาดคือผู้ชายคนไหนที่เข้าใกล้หรือสัมผัสตัวเธอก็จะเป็นลมล้มพับ
สลบไสลไปกันหมด จนวันหนึ่งเธอได้ไปดู ดวงกับแม่หมอซึ่งเป็นคนที่คุ้นเคยกันตั้งแต่เธอยังเด็ก
เธอได้รับคำทำนายว่าชะตาเธอจะถึงฆาต
หากเธอยังไม่พบเจอเนื้อคู่ของเธอภายในหนึ่งอาทิตย์
ทำให้เธอต้องออกไปตามหาผู้ชายที่สามารถแตะต้องเธอได้โดยที่ไม่สลบ
แต่แล้วเธอก็ได้พบคนที่สามารถแตะต้องตัวเธอได้โดยที่ตัวเองไม่สลบ
คนแรกคือเด็กชายรุ่นราวคราวเดียวกันกับเธอ
โดยเธอได้พบเจอตอนที่เธอและเพื่อนของเธอบุกไปหน้าโรงเรียนชายล้วนเพื่อประกาศรับสมัครหาแฟน
คนที่สองคือ “เจแปน” เด็กหนุ่มรุ่นเดียวกันกับเธอ
เจอกันขนาดที่กำลังหนีการไล่ล่าของเหล่านักเรียนชายที่ไม่พอใจในตัวเขา
และคนสุดท้ายคือชายหนุ่มที่เธอให้นามว่าเขาเป็นเจ้าชาย
เจอกันในตอนที่เธอกำลังข้ามถนนโดยเขาเป็นคนฉุดเธอให้พ้นอันตรายจากรถยนต์
ทั้งสามคนที่เธอพบเจอล้วนเป็นคนที่สามารถแตะต้องเธอได้
ซึ่งเธอนั้นจะต้องเลือกว่าในสามคนนี้ใครกันคือคนที่เป็นเนื้อคู่ของเธอ
โดยการออกเดตหรือออกไปพบปะที่ละคน ท้ายที่สุดคนที่ทำให้หวั่นไหวและมีความรู้สึก
คือชายหนุ่มหน้านิ่งที่ชื่อว่า เจแปน พร้อมกับการล้วงรู้ความลับของเจแปนเช่นกัน
“ SEXY
SENSEI ปฏิบัติการรักร้าย มัดหัวใจผู้ชายร้ายลึก!”เป็นเรื่องราวของ “ฮารุกะ”
เด็สาวมัธยมที่มีผลการเรียน และจำต้องเรียนพิเศษเพิ่มเติมกับ “ยูได” นักศึกษาแพทย์
ซึ่งเป็นติวเตอร์สอนพิเศษให้เธอ ภายนอกของยูได ดูเป็นเด็กเนิร์ด ที่แต่งตัวเชย
ตามสไตล์นักศึกษาแพทย์ แต่แท้ที่จริงแล้วในยามค่ำคืนเขาทำงานเป็นโฮสต์
โดยใช้นามแฝงว่า เคย์ ด้วยความที่ไม่ชอบหน้ากันมาตั้งแต่ไหนแต่ไร ประกอบกับฮารุกะเป็นลูกคุณหนูที่เอาแต่ใจ
ทำให้ทั้งคู่กลายเป็นไม้เบื่อไม้เมา แต่ด้วยความใกล้ชิดของคนทั้งคู่
และความเห็นอกเห็นใจในความจำเป็นที่ยูไดจำต้องประกอบอาชีพเป็นโฮตส์เพื่อช่วยฐานะทางบ้านที่ยากจน
ทำให้ก่อเกิดเป็นความรักของคนทั้งสอง แต่ทั้งคู่ก็ต้องเผชิญอุปสรรคที่เข้ามาขัดขวางเส้นทางรัก
ทั้งว่าที่คู่หมั้นของฮารุกะ ฐานะทางสังคม และการยอมรับโดยพ่อของฮารุกะ
ถึงกระนั้นทั้งคู่ก็สามารถฟันฝ่าสิ่งเหล่านั้นผ่านไปได้และใช้ชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุข
จากเนื้อหาคร่าวๆ
ที่ได้ยกมาในแต่ละเรื่อง จะเห็นได้ว่า ตัวละครที่อยู่ในเรื่องมักจะเป็นวัยรุ่น
โดยเฉพาะตัวเอกของเรื่องที่เป็นผู้หญิงจะอยู่ในสถานะที่เป็นนักเรียน
และมีพระเอกที่หน้าตาที่หล่อเหลา
ซึ่งเป็นสิ่งชวนให้ผู้อ่านหลงใหลไปในความพาฝันที่นิยายได้แสดงออกมา
อีกทั้งทุกเรื่องที่ยกมาจะเป็นเรื่องที่มีปมความลับขอตัวละครไม่ว่าพระเอกและนางเอก
ซึ่งอีกสิ่งที่ชวนให้ผู้อ่านเกิดความสนใจที่จะติดตามไปกับเรื่องราวที่เป็นปมของตัวละครไปตลอด
จนกระทั่งจบเรื่อง
และสิ่งหนึ่งที่ทำให้ตัวตัวเรื่องหรือเนื้อหาของนิยายแจ่มใสเป็นที่นิยมชมชอบในหมู่วัยรุ่นนอกจากบุคลิกหน้าตาของพระเอก
คือตอนจบของเรื่องที่จบลงโดยสมหวังกันทั้งคู่
ซึ่งการจบของนิยายเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมายาคติของนวนิยายพาขวัญ
ซึ่งมายาคติที่ว่าก็ส่งกระทบต่อการสร้างละครหลังข่าวที่นำเอานวนิยายมาทำเป็นละคร
จนกลายเป็นว่ามายาคตินวนิยายพาฝันเป็นภาพจำ และกลายเป็นที่ชื่นชอบของสังคม
เช่นเดียวกับนวนิยายแจ่มใสที่รับเอามายาคติดังกล่าวมาใช้
แล้วเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่น
2.เสนอเนื้อหาที่สะท้อนภาพสังคมของผู้แต่ง
ในนวนิยายไม่ว่าจะเป็นประเภทไหน
หรือเรื่องอะไรก็ตามย่อมมีสิ่งหนึ่งที่แสดงออกมานั้นคือ การสะท้อนภาพสังคม
ในการสะท้อนภาพสังคมที่ว่า อาจเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง
หรือสถาบันใดสถาบันหนึ่งก็ได้ อาจเป็นการสะท้อนถึง ค่านิยมหรือความนิยมภายในสังคม
สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่นวนิยายเรื่องนั้นๆ ถูกผลิตขึ้น
โดยการสะท้อนในเรื่องเช่น เป็นสิ่งที่ทำให้ตัวนิยายมีความสมจริงโดยใช้เหตุการณ์จริง
หรือของที่มีอยู่จริงเข้ามาประกอบในนิยายที่สร้าง
ซึ่งการสะท้อนภาพของสังคมที่ว่านั้น ย่อมมีในตัวของนิยายแจ่มใส
โดยดูได้จากตัวอย่างที่ยกมาดังนี้
ตัวอย่างที่ 18
(พวกเรายินดีมากที่วันนี้มีโอกาสได้สัมภาษณ์หนุ่มๆ
JYJ
คิมแจจุน ปาร์คยูชอน และคิมจุมซู)
กรี๊ดดดดดดดดด >O<
ฉันกำลังนั่งดูรายการโทรทัศน์อยู่ที่โซล ข้างๆ
กันมีเคลวินนั่งเมาส์เรื่องของตัวเองไม่หยุด -_-
“พ่อนี้โหดจริงๆ เลย
แม้แต่เมสเสจก็ยังห้ามฉันส่งถึงเธอ แถมยังคอยจับตามองตลอดเวลาอีกต่างหาก
ฉันน่ะคิดถึงเธอมากๆๆๆๆ”
“( ‘ ‘ )” ตั้งอกตั้งใจดูโทรศัทน์ตาไม่กระพริบ
“จะไม่ให้รางวัลเป็นจูบหรืออะไรบ้างเลยเหรอ”
“รอรายการนี้จบก่อน”
พูดปัดๆ
( Snow
Prince กรี๊ดดด ต้องรักให้ได้ผู้ชายคนนี้ ! : หน้า
225-226)
จากตัวอย่างบทสนทนานั้นมีการพูดถึงศิลปินเกาหลีซึ่งศิลปินเกาหลีในเรื่องนี้นั้นเป็นวงที่มีอยู่จริงในปัจจุบันรวมถึงตัวศิลปินคือ
วง JYJ
ศิลปินคือ คิมแจจุน ปาร์คยูชอน และคิมจุมซู
ซึ่งทำให้เห็นว่าปัจจุบันวงการบันเทิงของเกาหลีได้เข้ามามีบทบาทในสังคมไทยโดยเฉพาะสังคมวัยรุ่นและถึงว่ามีอิทธิพลต่อวัยรุ่นพอสมควรจะเห็นได้จากการแต่งตัว
การทำผม การแต่งหน้า เป็นต้น
ตัวอย่างที่ 19
โอ๊ะ! O_o
ถึงเนื้อถึงตัวขั้นเทพ เขาจับมือฉันแล้วเข้าไปนั้งลงที่โซฟา
พลางหยิบ iPhon 4 ออกมาโชว์
“ไอ้หมอนั่นให้โทรศัพท์เครื่องนี้มา บอกว่าสำหรับให้เราสองคนใช้
เขาจะติดต่อเราผ่านทางโปรแกรม FaceTimem ของ iPhon
4”
“มันคืออะไร O_o”
“โปรแกรมการคุยแบบเห็นหน้าไง”
(10 Days with Handsome จะบ้าตาย...ห้ามรักนายสุดหล่อ!!!
: หน้า 15)
จากตัวอย่างบทสนทนานั้นทำให้เห็นว่ามีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยคือการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนหรือไอโฟนและมีการใช้โปรแกรมเฟสทามที่เหมือนกับแอพเฟสบุ๊คและไลน์ในปัจจุบันซึ่งทำให้เห็นถึงค่านิยมของสังคมวัยรุ่นได้เป็นอย่างดี
ตัวอย่างที่ 20
เสียงเพลงอันคุ้นหูดังขึ้น
พวกนักเรียนชายกำลังเดินมาทางนี้มองมองพวกฉันเป็นตาเดียวกัน =_=;
…เนื้อคู่ฉันยังไม่เกิดสักที
และดูเหมือนยังไม่มีวี่แววจะพบเจอ
พะ…พี่บอยมาเอง -_-;
…ไม่รู้ว่านานเท่าไหร่
กว่าฉันนั้นจะได้เจอะเจอ กับเธอคนที่ฉันรอ
(It’s
You เจ้าของหัวใจยังไงต้องใช่เธอ : หน้า 19)
จากตัวอย่างนั้นจะเห็นได้ว่าเพลงนั้นเป็นเพลงสตริงที่เกี่ยวกับความรักและเพลงนั้นเป็นเพลงที่ใครๆก็รู้จักและร้องได้ทำให้เห็นถึงค่านิยมตามยุคตามสมัยที่ใหม่โดยเฉพาะสังคมวัยรุ่นที่มักจะเพ้อฝันถึงเรื่องความรักความใคร่เป็นต้น
ตัวอย่างที่ 21
เขาเป็นผู้ชายรูปร่างดีเหมือนนายแบบ
อาจจะไม่ได้ดูหล่อล่ำ หุ่นติดบางนิดๆ
แต่กลับดูแข็งแรงและมีเสน่ห์ดึงดูดสายตาไม่ได้ยิ่งหยอนไปกว่ากัน
เขาสูงเกินกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบเซนติเมตรแน่ๆ
มีช่วงขายาวมากและไหล่กว้างพร้อมจะปกป้องผู้หญิงได้เสมอ
ว่าด้วยเรื่องรูปร่างหน้าตา…เคย์มีใบหน้าหล่อแหล่มคมพอดิบพอดี
เหมือนเป็นคนหล่อที่หลุดมาจากหนุ่มหล่อเท่ในเกมหรือพระเอกการ์ตูนที่ขายความเท่และเซ็กซี่
เมื่อโครงหน้าดูดีรวมกับริมฝีปากบางแดงหยักลึกเหมือนถูกแกะสลักด้วยลิ่มแต่เป็นเส้นตรงไม่บอกอารมณ์
จมูกโด่งเป็นสัน
และเส้นผมสีดำซอยสไลด์ระบ่ารับกับใบหน้าทุกกระเบียดแล้วบอกได้เลยว่า…เขาดูเท่และมีเสน่ห์เกินกว่าผู้หญิงคนไหนจะต้านทาน
สิ่งที่น่าจะสะกดสายตาและฉุดกระชากหัวใจผู้หญิงให้กองอยู่แทบเท้าเขาภายในวินาทีเดียวได้ดีที่สุด
คงหนีไม่พ้นนัยน์ตาคมกริบสีดำสนิทที่ดูลึกลับ น่าค้นหา
และเฉยชาแต่ทว่าน่ามองคู่นั้น
(SEXY
SENSEI ปฏิบัติการรักร้ายมักหัวใจผู้ชายร้ายลึก! : หน้า 11-12)
จากตัวอย่างนั้นจะเห็นได้ว่าในสายตาของผู้หญิงในปัจจุบันต้องหน้าตาดี
หล่อ สูง ขาว
กลายเป็นค่านิยมที่วัยรุ่นส่วนใหญ่ที่ใฝ่ฝันอยากจะได้ผู้ชายแบบนี้มาครอบครองหรือมาเป็นแฟนซึ่งสเป็คการมองผู้ชายในอุดมคติของผู้หญิงนั้นอาจเปลี่ยนไปตามกาลเวลาหรือยุคสมัยเป็นต้น
ในการนำเอาสิ่งที่นิยมและปรากฏอยู่ในสังคม
เป็นสิ่งที่ทำให้งานเขียนที่ผู้เขียนสร้างขึ้น ดูมีความสมจริงยิ่งขึ้น ทั้งในด้านตัวละคร
ฉาก การเล่าเรื่อง ซึ่งสิ่งที่ปรากฏล้วนทำให้ผู้อ่านจินตภาพตามได้ง่ายยิ่งขึ้นในการอ่าน
และเป็นการสะท้อนถึงค่านิยมหรือความนิยมในช่วงเวลานั้นๆ ของสังคม นั้นจึงจุดเด่นที่เห็นได้ชัดในนวนิยายแจ่มใส
สรุปผลการวิเคราะห์
การใช้ภาษาในนวนิยายของสำนักพิมพ์แจ่มใส
สะท้อนให้เห็นถึงการใช้ภาษาที่ใช้กันในหมู่วัยรุ่น ซึ่งดูได้จากการใช้ภาษาปากที่เป็นสิ่งที่ทำให้นิยายแจ่มใสเป็นที่ชื่นชอบกันในหมู่วัยรุ่น
เพราะเป็นภาษาที่มีความเข้าใจได้ง่าย
ไม่พิถีพิถันหรือเคร่งครัดในกฎเกณฑ์ทางภาษามากนัก
ซึ่งภาษาเหล่านี้เป็นสิ่งที่วัยรุ่นนิยมใช้ในการสื่อสาร
ภาษาในนิยายแจ่นใสจึงเป็นสิ่งที่เข้าถึงวัยรุ่นได้โดยไม่ยาก
อีกทั้งการใช้เครื่องหมายสัญลักษณ์
อิโมจิ หรือ
อิโมจิคอนในการแสดงอารมณ์ของตัวละครซึ่งส่วนใหญ่ตัวละครที่เป็นผู้เล่าเรื่อง
(นางเอก) มักจะใช้เครื่องหมายนี้กำกับอยู่ท้ายประโยคหรือแทรกในประโยคมากกว่า
ถึงกระนั้น เครื่องหมายอิโมจิที่ปรากฏในนิยายแจ่มใส
ก็มีส่วนช่วยให้ผู้อ่านเข้าถึงอารมณ์ของตัวละครมากยิ่งขึ้นนอกเหนือจากการอ่าน
โดยใช้สัญลักษณ์แทน
และในนวนิยายแจ่มใส
ก็มีการใช้คำที่มาจากภาษาอังกฤษ ก็เพื่อดึงดูดให้ผู้อ่านเกิดความน่าสนใจ ทั้งยังเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายเพราะยิ่งยุคสมัยมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป
คำในภาษาอังกฤษก็จะเข้ามามีบทบาทในภาษาไทยมากขึ้น เช่น ชื่อสิ่งของเครื่องใช้
ชื่อคน ชื่ออาหาร หรือ ชื่อเรียกเหตุการณ์หรือเทศกาลงานต่างๆ
แต่ในนิยายแจ่มใสก็ยังมีการนำคำหรือภาษาอื่นที่นอกเหนือจากภาษาอังกฤษเช่นกัน
ซึ่งในการใช้ภาษาเป็นการทำให้ตัวเรื่องนั้นดูมีมีความสมจริงประกอบกับฉากที่มีความเป็นต่างประเทศร่วมทั้งตัวละครที่มีเชื้อชาติในประเทศนั้นๆ
ทำให้ภาษาหรือคำที่ใช้มีการนำประยุกต์ให้เข้ากับตัวเรื่องและทำให้ผู้อ่านซึมซับบรรยากาศของเรื่องได้อย่างเข้าถึงตามที่ผู้แต่งต้องการ
การใช้คำอุทานก็เป็นส่วนช่วยทำให้ตัวเรื่องดูมีอารมณ์ความรู้สึก
และไม่น่าน่าเบื่อจนเกินไป
เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจในอารมณ์เช่นเดียวกับเครื่องหมายอิโมจิคอนคำอุทานที่ปรากฏใช่ว่าจะเป็นเพียงแต่อาการตกใจเพียงอย่างเดียว
แต่มันหมายถึงภาพรวมของการแสดงออก
หรืออาการที่ปรากฏทั้งตัวละครในนิยายหรือแม้กระทั้งตัวผู้เล่าเรื่องก็ตาม
โดยมีเครื่องหมายอัศเจรีย์ ( ! ) เป็นตัวกำกับ
ซึ่งเครื่องหมายดังกล่าวจะมีมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของตัวเรื่องและความต้องการของผู้เขียนเป็นตัวกำหนด
คำแสลงที่ปรากฏในนวนิยายแจ่มใสส่วนใหญ่มักมีลักษณ์เป็นภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน
ซึ่งดูได้จากลักษณะคำที่มีการนำสระหรือเสียงวรรณยุกต์
เข้ามาต่อเติมหรือกร่อนเสียงลงในคำที่เป็นภาษาขียน หรือไม่ก็มีการเปลี่ยนรูปแบบของคำแต่มีความหมายที่เข้าใจกันในหมู่วัยรุ่น
แสดงให้เห็นถึงกลวิธีที่ผู้เขียนใช้ในการดึงดูดกลุ่มผู้อ่านและมีความชำนาญและเข้าใจในภาษาที่เป็นคำแสลง
ทางด้านการใช้โวหารเข้ามาประกอบในเรื่อง
เป็นส่วนช่วยทำให้เนื้อหามีความสนุกและน่าสนใจ ในการบรรยายเล่าเรื่อง
และความสมจริงของเรื่อง
อีกทั้งในโวหารโวหารหนึ่งย่อมมีอีกโวหารหนึ่งเข้ามาช่วยให้เกิดความสมบูรณ์และชัดเจนมากยิ่งขึ้น
สะท้อนให้เห็นศิลปะการใช้ภาษาของผู้เขียนของสำนักพิมพ์แจ่มใสที่ใช้ในการประพันธ์นวนิยาย
ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า วรรณศิลป์
และการนำแสนอเนื้อหาของนวนิยายแจ่มใส
ในแต่ละเรื่อง จะเห็นได้ว่า ตัวละครที่อยู่ในเรื่องมักจะเป็นวัยรุ่น
โดยเฉพาะตัวเอกของเรื่องที่เป็นผู้หญิงจะอยู่ในสถานะที่เป็นนักเรียน
และมีพระเอกที่หน้าตาที่หล่อเหลา
ซึ่งเป็นสิ่งชวนให้ผู้อ่านหลงใหลไปในความพาฝันที่นิยายได้แสดงออกมา
อีกทั้งทุกเรื่องที่ยกมาจะเป็นเรื่องที่มีปมความลับขอตัวละครไม่ว่าพระเอกและนางเอก
ซึ่งอีกสิ่งที่ชวนให้ผู้อ่านเกิดความสนใจที่จะติดตามไปกับเรื่องราวที่เป็นปมของตัวละครไปตลอด
จนกระทั่งจบเรื่อง
และสิ่งหนึ่งที่ทำให้ตัวตัวเรื่องหรือเนื้อหาของนิยายแจ่มใสเป็นที่นิยมชมชอบในหมู่วัยรุ่นนอกจากบุคลิกหน้าตาของพระเอก
คือตอนจบของเรื่องที่จบลงโดยสมหวังกันทั้งคู่
ซึ่งการจบของนิยายเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมายาคติของนวนิยายพาขวัญ
ซึ่งมายาคติที่ว่าก็ส่งกระทบต่อการสร้างละครหลังข่าวที่นำเอานวนิยายมาทำเป็นละคร
จนกลายเป็นว่ามายาคตินวนิยายพาฝันเป็นภาพจำ และกลายเป็นที่ชื่นชอบของสังคม
เช่นเดียวกับนวนิยายแจ่มใสที่รับเอามายาคติดังกล่าวมาใช้
แล้วเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่น
รวมทั้งการนำเอาสิ่งที่นิยมและปรากฏอยู่ในสังคม
เป็นสิ่งที่ทำให้งานเขียนที่ผู้เขียนสร้างขึ้น ดูมีความสมจริงยิ่งขึ้น
ทั้งในด้านตัวละคร ฉาก การเล่าเรื่อง
ซึ่งสิ่งที่ปรากฏล้วนทำให้ผู้อ่านจินตภาพตามได้ง่ายยิ่งขึ้นในการอ่าน
และเป็นการสะท้อนถึงค่านิยมหรือความนิยมในช่วงเวลานั้นๆ ของสังคม
นั้นจึงจุดเด่นที่เห็นได้ชัดในนวนิยายแจ่มใส
ซึ่งทั้งหมดที่ได้กล่าวมานั้น
เป็นภาพสะท้อนให้เป็นวัฒนธรรมการใช้ภาษาของวัยรุ่นในนวนิยายที่เป็นที่นิยมกันในหมู่วัยรุ่น
และเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงแนวคิดและค่านิยมของสังคมที่นำมาใช้ประกอบในเรื่องซึ่งเป็นกลวิธีที่ผู้เขียนใช้ดึงดูดความน่าสนใจของตัวเรื่องและเข้าใจในเนื้อหาที่ผู้ขียนต้องการสะท้อนให้เห็น
อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
ผลการศึกษาในการวิเคราะห์การใช้ภาษาในนิยายแจ่มใส
ซึ่งผู้วิจัยได้ใช้นวนิยายทั้ง 4 เรื่อง ได้แก่ “Snow
Prince กริ๊ดดด ต้องรักให้ได้ผู้ชายคนนี้!”
ของ หัวสมองตีบตัน (นามปากกา) ,“ 10 Days with Handsome Guy จะบ้าตาย...ห้ามรักนายสุดหล่อ!!!”
ของ แสตมป์เบอรี่ (นามแฝง) ,“ It’s You เจ้าของหัวใจ
ยังไงต้องใช่เธอ” ของ Mina
(นามแฝง) และเรื่อง“ SEXY SENSEI ปฏิบัติการรักร้าย
มัดหัวใจผู้ชายร้ายลึก!” ของ
Hideko_Sunshine (นามแฝง) มาใช้ในการศึกษา
โดยผลการศึกษามีดังต่อไปนี้
1. ภาษาที่ใช้ในนวนิยายแจ่มใสทั้ง
4
เรื่อง ภาษาที่ใช้เป็นภาษาปาก ซึ่งเป็นภาษาที่ไม่มีการเคร่งครัดในการใช้ภาษา
และเป็นที่เข้าใจกันในงานเขียนที่ผู้เขียนต้องการเจาะกลุ่มเป้าหมายผู้อ่านที่เป็นวัยรุ่น
อีกทั้งยังมีการนำคำที่เป็นภาษาอังกฤษ คำที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ รวมถึงคำแสลงมาใช้เสริม
เพื่อให้เกิดความน่าสนใจในตัวงาน
เนื้อหาที่ต้องการสื่อผู้อ่านที่เป็นกลุ่มวัยรุ่นเข้าใจมากยิ่งขึ้น
2. โวหารที่ใช้ส่วนใหญ่มักเป็นโวหารประเภท บรรยายโวหาร และพรรณนาโวหาร
โดยบรรยายโวหารจะเป็นตัวหลักที่ใช้ในการเล่าเรื่องซึ่งมีโวหารประเภทอื่นๆ
แทรกเข้าไปเพื่อให้การเล่าเรื่องหรือการเดินเรื่องนั้น
ไม่ถื่อจนเกินไปและแสดงออกถึงการใช้วรรณศิลป์ในการแต่งที่เป็นเอกลักษณ์ของนวนิยายแจ่มใส
3.การนำเสนอเนื้อหาของนวนิยาย มีเนื้อหาไปในทางนวนิยายประโลมโลก
หรือนวนิยายความรัก
โดยมีผู้เล่าเรื่องเป็นตัวละครเอกของเรื่องซึ่งมีสถานะในเรื่องเป็นนางเอก
และตัวเรื่องจะเน้นไปในทางความรักของวัยรุ่นในช่วงวัยเรียนหรือ
ช่วงมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นค่านิยมหรือความชื่นชอบในการเสพวรรณกรรมในช่วงเวลานั้นของวัยรุ่น
4. ผู้เขียนได้นำเอาสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปในสังคม
หรือได้รับความนิยมในช่วงเวลานั้นเข้ามาใช้ประกอบในเนื้อหาของเรื่อง
เพื่อให้ตัวเรื่องดูมีความสมจริงและง่ายต่อความเข้าใจของผู้อ่าน อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นกลวิธีที่เป็นเอกลักษณ์ในการนำเสนอ
เช่นเดียวกับการนำเสนอเรื่องความรักของวัยรุ่น ในนวนิยายแจ่มใสที่ทำให้ผู้อ่าน
ที่ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น หันมาสนใจในตัวนวนิยาย
ส่วนทางด้านข้อเสนอแนะ ต้องการให้งานวิเคราะห์ภาษาชิ้นนี้เป็นแม่แบบในการศึกษาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนวนิยายแจ่มใส
(โดยรวม) เป็นแบบอย่างในการทำวิจัยและข้อมูลประโยชน์ แก่ผู้ที่สนใจที่จะศึกษา
ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะในการทำวิจัย ที่ผู้วิจัยอยากฝากคือ
ไม่ว่างานวิจัยที่ศึกษาจะเป็นเรื่องที่แปลกใหม่หรือเป็นเรื่องที่ไม่เคยมีผู้ใดทำมาก่อน
ก็ไม่จำเป็นต้องกังวนถึงข้อมูลที่ใช้อ้างอิงหรือหลักฐานที่ใช้ประกอบ
เพียงแค่คิดและลงมือทำก็เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ๆได้เช่นกัน
เพราะความรู้เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา เพียงแค่คิดและลงมือทำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น