วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ภาษาในวิถีชีวิตและสังคมไทย


 ภาษาในวิถีชีวิตและสังคมไทย


                บทความนี้เป็นบทสรุปของการศึกษาถึงภาษาที่ปรากฏในสังคม การใช้ภาษา โดยเรื่องดังกล่าว ล้วนเป็นสิ่งที่สำคัญในการศึกษาและสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันหรือในการทำงาน (ที่ต้องพบเจอในอนาคต)  กล่าวคือ สังคมมีส่วนที่ทำให้ภาษากำเนิดขึ้นมาเพื่อใช้ในการสื่อสารเฉพาะ และมีความเกี่ยวข้องกับสังคมในด้านต่างๆ ทั้งนี้ การศึกษาภาษาย่อมเป็นสิ่งที่สำคัญ ควบคู่กับการใช้ชีวิตของผู้คนในสังคม ไม่ว่าจะทำกิจกรรมใดก็ตาม หากเนื้อหาตรงกับหนังสือหรือแหล่งข้อมูล ผู้เขียนก็ใคร่ขออภัยมา ณ ที่นี่ 


1. ความรู้ทั่วไปในเรื่องภาษา

ความรู้ของคำว่าภาษา

        ภาษานั้นคือระบบสื่อสารอย่างมีความหมายของมนุษย์ อาจสื่อสารด้วยท่าทาง เสียงพูด งานเขียน หรือด้วยตัวกลางอื่นๆ ก็ได้ เสียงทุกเสียงที่มนุษย์ทำไม่เป็นภาษาทั้งหมด มีเสียงชุดหนึ่งเท่านั้นที่จะมีความหมายในภาษาหนึ่งๆ เสียงที่มีความหมายในภาษานี้ เรียกว่า ระบบเสียง การออกเสียงแต่ละครั้ง เรียกว่า “พยางค์” ถ้าหากการออกเสียงนั้นมีความหมายก็จะเรียกพยางค์นั้นว่า “คำ” คำอาจมีพยางค์เดียวหรือมีหลายพยางค์ก็ได้ เมื่อนำคำมาเรียงกันตามหลักการที่ตกลงหรือเข้าใจในภาษาใดภาษาหนึ่ง ก็จะเกิดเป็นกลุ่มคำ เป็นประโยค ซึ่งยืดยาวซับซ้อนขึ้นเพื่อใช้สื่อสารสาระที่กว้างขวางลึกซึ้งหรือแสดงความรู้สึกได้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

ความสำคัญของภาษา

       ภาษาเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใช้ระหว่างกัน และเปลี่ยนแปลงในสังคมหนึ่งๆ เป็นข้อตกลงของสังคมนั้นๆ ภาษาจึงสำคัญในแง่ที่จะสังคมได้อย่างโดยตรง เมื่อสังคมมีภาษาที่ศึกษาได้ดี ก็ย่อมเกิดความเจริญได้ เพราะเกิดความสื่อเนื่องทางสติทางปัญญาความคิด ดังจะเห็นได้ว่า การสั่งสมความคิด การถ่ายทอดความคิด การโต้แย้ง การถกเถียง ภาษาจึงสำคัญในแง่การเป็นเครื่องมือวินิจฉัยแจกแจงให้เกิดความรู้ วิทยาการใหม่ๆ การตัดสินใจกระแสความเป็นไปในสังคม รวมทั้งการถ่ายทอดไปสู่คนอื่นในเวลาเดียวกัน

         เมื่อพิจารณาในประเด็นถ่ายทอด ภาษามีความสำคัญในแง่วัฒนธรรม อารยธรรมของมนุษย์ชาติด้วย หากไม่มีภาษาก็ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าประวัติ แม้ภาษาพูดก็บันทึกประวัติได้

          ภาษาเป็นระบบการสื่อสารที่เป็นหลักในสังคม วัฒนธรรม อารยธรรม วิทยาการ ความงามที่มนุษย์จะพึ่งรู้สึกได้ ในประวัติศาสตร์จึงถือว่าวัฒนธรรมใดที่มีลายลักษณ์อักษรบันทึกภาษา วัฒนธรรมนั้นถือเป็นวัฒนธรรมยุคประวัติศาสตร์ หลักการนี้เกิดขึ้นบนพื้นฐานของภาษาเช่นกัน

 

การศึกษาภาษาในแนวต่างๆ

       ภาษาเกิดในสังคมและเปลี่ยนแปลงไปตามสังคมก็จริง แต่มิได้เปลี่ยนแปลงไปในทุกเรื่อง เพราะภาษามีระบบระเบียบที่ค่อนข้างแน่นอน เพื่อให้ทุกคนเข้าใจได้เหมือนหรือใกล้เคียงกัน การเรียนรู้ภาษาย่อมสำคัญต่อความสัมพันธ์การเจรจาทั้งด้านการเมือง ธุรกิจ และสังคม การที่ภาษาสามารถใช้สื่อสารให้เกิดสิ่งต่างๆ ในสังคมได้ มนุษย์จึงเห็นว่า ภาษาอำนาจ คำพูดที่เปล่งออกมาในบางสังคมในบางสังคมถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์

         การศึกษาเชิงเปรียบเทียบนี้อาจเปลี่ยบเทียบความเหมือนหรือความต่างก็ได้ กรณีหลังบางทีเรียกว่า “เปรียบต่าง” อาจเปรียบเทียบกันภายในภาษาตระกูลเดียวกันหรือต่างตระกูลกันก็ได้ การเปรียบเทียบภาษาต่างตระกูลกัน จะทำให้การสื่อด้วยระบบที่ต่างกัน เป็นประโยชน์แก่การเรียนภาษาต่างประเทศ ทำให้แก้ไขข้อผิดพลาดเมื่อพูดหรือเขียนภาษาต่างประเทศได้

          การศึกษาภาษาในฐานะเป็นในฐานะเป็นวัฒนธรรมและเป็นส่วนหนึ่งของสังคมก็ทำให้เห็นวิวัฒนาการประวัติของระบบและสถาบันต่างๆ ในสังคมได้ ความรู้เกี่ยวแก่ธรรมชาติของภาษาตามลักษณะอันเป็นวิทยาศาสตร์นี้เรียกรวมว่า “วิชาภาษาศาสตร์” ซึ่งแยกเป็นหลายแขนง วิชาภาษาศาสตร์เป็นประโยชน์แก่การเรียนภาษา การวิจัยทางภาษา รวมไปถึงการใช้ภาษาในระบบเทคโนโลยีสื่อสารทางคอมพิวเตอร์ด้วย

 

ข้อพินิจเกี่ยวแก่ภาษา

ลักษณะสำคัญของภาษาไทย

        ภาษาทุกภาษามีลักษณะที่ร่วมกันและลักษณะที่ต่างกัน โดยระบบความคิดภาษาทุกภาษาใช้ระบบต่างๆ เพื่อสื่อความหมาย เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมาตรฐานต่างจากภาษาไทยถิ่นในประเทศและนอกประเทศไทย และต่างจากระบบเสียงวรรณยุกต์ของภาษาจีน ของเวียดนาม ถ้าจัดภาษาในโลกเป็นกลุ่มๆ ตามระบบที่มีอยู่ในภาษานั้นๆ จะแบ่งภาษาในโลกออกเป็นอย่างคร่าวๆ ที่สุดได้เป็นสามสี่กลุ่ม คือ กลุ่มที่ใช้วิภัติปัจจัย กลุ่มภาษาคำโดด คือ ภาษาไทย จีน เวียดนาม ฯลฯ และที่เรียกว่าภาษาไทยมีลักษณะเป็นภาษาคำโดด เพราะส่วนมากภาษาไทยใช้คำเรียงกันเป็นประโยคโดยตรง

ภาษาไทยในแง่มุมต่างๆ

        เมื่อมองภาพของภาษาในสังคมก็จะพบว่า ภาษาที่ไม่ใช่ภาษาไทย แต่มีอยู่ในประเทศไทยด้วย

        1.  ภาษากลาง ภาษาราชการ และภาษามาตรฐาน

            ภาษากลาง เป็นภาษาที่ใช้ในการปกครอง ใช้ในเอกสารที่เป็นหลักฐานบ้านเมือง กฎหมายต่างๆ ประกาศต่างๆ และภาษาต่างๆที่ใช้ในสื่อมวลชน

            ภาษาราชการ จำเป็นต้องมีมาตรฐานเพื่อกำกับภาษาไม่ให้กลายหรือเปลี่ยนแปลงรวดเร็วจนเกินไป หรือเมื่อมีเหตุจำเป็นก็ต้องบัญญัติศัพท์เพิ่มเติม เพราะวิทยาการก้าวหน้าไปมาก

            ภาษามาตรฐาน ก็คือ ภาษาราชการเป็นปัจจัยหลัก ที่ทำให้ภาษาไทยกลางเป็นภาษากลางของประเทศ รัชกาลที่ 6 ทรงส่งเสริมการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง

        2.  ภาษากลางกับภาษาถิ่น

            ภาษากลางของไทยเป็นภาษาถิ่นเช่นกัน หรืออาจกล่าวได้ว่าคือ ภาษาไทยภาคกลาง หรืออาจกล่าวอย่างแคบที่สุด คือ ภาษาไทยกรุงเทพ อันเป็นสำเนียงที่ถือเป็นมาตรฐาน

            ภาษาถิ่นอื่นๆ ก็มีอิทธิพลเปลี่ยนแปลงภาษากรุงเทพ ซึ่งอยู่ในฐานะภาษากลางด้วย เพราะมีผู้คนจากถิ่นอื่นๆ อพยพมาอยู่ที่ศูนย์กลางความเจริญคือเมืองหลวง

        3.  ภาษา กับการเมืองและการศึกษา

            ภาษา เป็นเครื่องมือสำคัญทั้งในการสร้างชาติและสร้างชาตินิยม เมื่อพิจารณาดูประเทศหรือชาติอื่นๆ จะเห็นว่าภาษามีบทบาทสำคัญทางการเมืองการปกครองและการศึกษาอย่างมาก

                    -          เมื่อกล่าวโดยรวม ภาษาทุกภาษาย่อมมีระบบสื่อสารเป็นอย่างเดียวกัน แต่รายละเอียดภายในระบบอาจจะต่างกัน ดังจะพิจารณาโดยรวมต่อไป

-          ระบบเสียง ทุกภาษามีระบบเสียง คือ เสียงที่นำมาใช้ในภาษา

-          เสียงพยัญชนะ นั้นเปลี่ยนแปลงไปตามฐานกรณ์ ลักษณะการประชิดของฐานกรณ์และการปล่อยเสียง จึงเรียกว่า “เสียงแปร”

-          ระบบคำ การออกเสียงแต่ละครั้งในภาษา เรียกว่า “พยางค์” เมื่อใดก็ตามที่เกิดมีความหมายขึ้นมา เรียกว่า “คำ”

-          คำซ้ำ คือ การนำคำคำเดียวมาเรียงต่อกัน เช่น ขาวขาว

-          คำซ้อน คือ การนำคำที่มีความหมายคล้ายกันมาเรียงต่อกัน อาจซ้อนเพียงคำเดียวหรือมากกว่านั้นก็ได้

-          คำประสม คือ การนำคำสองคำขึ้นไปมารวมกัน แล้วได้ความหมายถึงบางสิ่งบางอย่างเพียงอย่างเดียว เช่น คำว่า แม่ทัพ


     ชนิดของคำและหน้าที่ของคำ

-          ตามหลักภาษา มีคำหลักอยู่ประมาณ 4 ชนิด คือ คำเรียกชื่อ ได้แก่ คำนาม คำแทนชื่อ คือ คำสรรพนาม คำนับจำนวน คำลักษณะนาม คำแสดงอาการและลักษณะ คือ คำกริยา คำขยายนาม-กริยา คือ คำคุณศัพท์ คำเชื่อมต่างๆ เช่น คำสันธาน คำบุพบท

-          วากยสัมพันธ์ เป็นระบบของการนำคำมาเรียงร้อยไว้ด้วยกันให้ได้ความตามที่ต้องการจะสื่อสาร

-          ในมิติประวัติศาสตร์ จะเห็นได้ว่า ดินแดนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้มีกลุ่มภาษาสำคัญคือ มอญ เขมร พม่า และไท ที่มีวัฒนธรรมความเจริญจนมีอำนาจทางการเมืองอย่างเด่นชัด มีแนวโน้มว่าภาษากลาง ภาษาราชการ จะใช้กันมากขึ้นในท้องถิ่น ทั้งนี้เพราะการศึกษาซึ่งมีแผนการศึกษาแห่งชาติร่วมกันเป็นปัจจัยสำคัญ

-          ปัจจุบันภาษากลาง (ภาษากรุงเทพ) เป็นภาษาทั้งราชการและภาษามาตรฐานในขณะเดียวกัน

 

 3. ภาษากับสังคม

สังคมภาษา

       สังคมจะเป็นสังคมมาได้ก็เพราะภาษา หรือมีภาษาเชื่อมโยงกันให้สังคมนั้นสื่อสารสืบทอดความคิดความรู้ วัฒนธรรม และระเบียบการต่างๆ ของสังคมนั้นๆ ได้ ภาษานอกจากจะมีความสำคัญในตัวเองในฐานะเป็นสื่อเนื้อหาสาระความคิดวิทยาการของมนุษย์แล้ว ยังมีความสำคัญด้านการสร้างความงามให้เกิดสุนทรียะอันเกิดจากเสียงถ้อยคำในภาษา

        เมื่อกล่าวโดยรวมแล้ว การที่พูดว่า สังคมมนุษย์เป็นสังคมภาษา นั้น เพราะภาษาเป็นปัจจัยให้รวมกันอยู่ได้ สื่อสารกันได้ ถ่ายทอดความรู้กันได้ สร้างวัฒนธรรมอารยธรรม ติดต่อสัมพันธ์กัน กำกับคัดสรรวัฒนธรรมระหว่างสังคม รักษาวัฒนธรรม ความรู้ในสังคม อีกทั้งแสดงภูมิปัญญา อารมณ์ศิลป์ อันละเอียดอ่อนของมนุษย์ในสังคมนั้นๆ ไว้ได้

ภาษาสังคม

       สังคมมนุษย์เป็นสังคมภาษา สังคมมนุษย์มีโครงสร้างที่ซับซ้อน ในสังคมหนึ่งอาจแยกเป็นสังคมกลุ่มย่อยๆ

        ภาษาของกลุ่มที่แตกต่างกันนี้ มักจะต่างกันทั้งสองด้าน ต่างกันในแง่ของภาษาโดยตรง และต่างกันทางสังคม

       ภาษาถิ่น เป็นเรื่องสำคัญทางการเมืองการปกครอง เพราะหากประเทศใดมีภาษาถิ่นที่แตกต่างกันมากจนแข่นขันกันเป็นภาษากลางหรือภาษาประจำชาติ ก็จะเกิดความไม่ปรองดองกันขึ้น ทั้งนั้ก็เพราะเป็นภาษาสังคม นอกจากภาษจะแตกต่างกันในลักษณะของกลุ่มถิ่น- ชาติแล้วในสังคมหนึ่งๆ ภาษายังแสดงการจัดชนชั้นในสังคม การจัดแบ่งกลุ่มในสังคม และการแสดงความสัมพันธ์กันในระหว่างชนชั้นหรือกลุ่มในสังคม ด้วย

ภาษาศาสตร์สังคม

       ภาษาศาสตร์สังคม อาจแบ่งการศึกษาภาษาลักษณะนี้ได้ 2 แบบ คือ

              ภาษาศาสตร์สังคมแนวบรรยาย เป็นการศึกษาค้นคว้าพฤติกรรมทางสังคมในการใช้ภาษาในชุมชนภาษาใด (speech community) ชุมชนหนึ่ง ภาษาในชุมชนนั้นหรือภาษาที่ใช้นั้นมีลักษณะหรือแสดงออกทางสังคมอย่างไร และคนในกลุ่มชุมชนนั้นมีพฤติกรรมต่อภาษาอย่างไร

               ภาษาศาสตร์สังคมเชิงพลวัต เป้นการศึกษาถึงเหตุผลของความแตกต่างและความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมทางภาษาในชุมชนภาษาเดียวกัน เมื่อสถานการณ์ต่างกัน


4. ภาษาไทยในสังคมไทย

ระดับภาษา

       ภาษาไทยมีการใช้ภาษาที่แสดงฐานะของบุคคล ผู้พูด ผู้ฟัง และผู้พูดถึงแสดงว่าเป็นบุคคลที่มีชนชั้น คำว่า ชนชั้นหรือระดับ ในที่นี้ไม่ได้หมายแต่ชนชั้นสูง ชั้นต่ำอย่างเดียว แต่หมายถึงฐานะความสัมพันธ์กันในสังคม

       ระดับของภาษานี้ภาษาไทยค่อนข้างจะมีกฎเกณฑ์แน่นอน เป็นที่รู้จักกันในฐานะอะไรควรใช้อย่างไร สิ่งที่แสดงระดับของภาษาที่ชัดที่สุด ได้แก่ ราชาศัพท์ แม้ในปัจจุบันระบบการปกครองจะเปลี่ยนจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตยแล้วก็ตาม ความนิยมดังกล่าวก็ไม่ได้หมดไป ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในภาษา กลับกลายเป็นว่าใช้ราชาศัพท์ซับซ้อนยิ่งขึ้น มีการแบ่งชั้นในส่วนของเจ้านาย ละเอียดลออขึ้น ได้ยินได้ฟัง หรือจำเป็นต้องพูดต้องอ่านภาษาที่มีราชาศัพท์มากขึ้น แบบแผนของการใช้ราชาศัพท์โดยเฉพาะเกี่ยวกับเจ้านายนั้น เมื่อแรกเริ่มใช้ตามเขมรโดยมาก ต่อมาก็พัฒนามีลักษณะเป็นของไทยเองมากขึ้น โครงสร้างทางสังคมจะต้องสอดคล้องกับการใช้ภาษา เพราะฉะนั้นเรื่องลำดับชนชั้นในสังคมไทยเองก็มีส่วนทำให้เกิดระดับของภาษา

ภาษาเฉพาะกลุ่ม

       ภาษาในวงการแพทย์ มักเป็นเรื่องของการรักษา เทคนิควิธีการต่างๆ ของการเยียวยา ชื่อย่อของโรค หรือชื่อย่อของเครื่องมือที่ใช้ตรวจรักษา

        ภาษาโฆษณา มักใช้สำนวนที่เตะหู ชอบใช้คำคล้องจองเพื่อให้จำง่าย ปัจจุบันภาษาโฆษณามีอิทธิพลมาก ไม่เพียงแต่เรื่องสำนวนแต่มีเรื่องสำเนียงด้วย

        ภาษาหนังสือพิมพ์ ชอบใช้คำสั้นๆ เพื่อประหยัดเนื้อที่ ชอบใช้คำเปรียบเทียบเพื่อให้เกิดสีสัน ชวนติดตาม

การเปลี่ยนแปลงของภาษา

       ภาษาที่ใช้กันในสังคมก็เปรียบเหมือนว่ามีชีวิต มีการเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะสังคม ค่านิยม ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมนั้นๆ เมื่อสังคมเปลี่ยนแปลงภาษาก็เปลี่ยนตามตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการเปลี่ยนจากสังคมเกษตรเป็นสังคมอุตสาหกรรม

        ในสังคมไทยเดิมภาษาต่างประเทศที่สำคัญคือ ภาษาเขมร ภาษาบาลี สันสกฤต เราพบภาษาเขมรใช้ปนกับภาษาไทย ทั้งศัพท์สามัญ ศัพท์เรื่องพระ เรื่องเจ้านาย ศัพท์ที่เป็นชื่อเฉพาะ

         ภาษาจีนซึ่งเดิมเป็นภาษาที่สำคัญที่สุดในการค้าขายในสังคม ศัพท์จะลดความสำคัญลง ด้วยการค้าขยายตัวไปทางตะวันตก ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อโดยมาก

การอ่านออกเขียนได้

       การอ่านออกเขียนได้ เป็นปรากฏการณ์ที่สำคัญทางภาษาและสังคมอย่างยิ่ง เมื่อการอ่านออกเขียนได้เป็นเรื่องสามัญในสังคม การเล่าเรียนศึกษาก็กว้างขวางขึ้น มีวิชาเฉพาะมากขึ้น คนอ่านมากกว่าฟัง ทุกคนอ่านเองได้

        การอ่านออกเขียนได้มีข้อดีอยู่มากมายเช่นกัน การศึกษาเล่าเรียนทำได้กว้างขวางเพราะหัดให้อ่านออกเขียนได้ก่อน วิชาความรู้มั่นคงขึ้นมีหลากหลายขึ้น ภาษากลางเป็นภาษามาตรฐานจะเกิดขึ้นได้ด้วยการอ่านออกเขียนได้เพราะจะต้องอ่านเขียนให้เป็นระบบเดียวกัน

ภาษาวิบัติ

       ความจริงแล้ว เราไม่อาจหยุดภาษาได้ แต่ก็อาจมีเกณฑ์ตัดสินได้ว่า ภาษาเกิดวิบัติคือ เสียสมบัติในที่นี้อาจหมายถึงเสียลักษณะพิเศษของภาษานั้นๆ ไป เสียถ้อยคำสำเนียงที่ดีไป ทำให้ภาษายากจนลง

        การใช้คำบุพบทมากๆ ก็ไม่ถูกต้องตามลักษณะภาษาไทย เพราะภาษาไทยมีวิธีพูดโดยไม่ต้องใช้บุพบทมากนัก จะใช้เมื่อจำเป็น

         การใช้คำผิดมีอยู่ทั่วไป ผิดทั้งคำเดียว คำซ้อน ลักษณนาม ตัวอย่างคำซ้อนและลักษณนาม เช่น การจราจรคับคั่ง คำว่า คับคั่ง เป็นคำดี มากันยิ่งมากยิ่งดี ควรใช้คำว่า การจราจรติดขัด

         ภาษาไทยจะไม่วิบัติ หากเราใส่ใจที่จะรักษาระเบียบภาษาไว้ด้วยความเหมาะสม ไม่เคร่งครัดจนเกินไป หากแต่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของภาษา

 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น